วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

7 ขั้นตอนในการจัดการสินค้าย้อนกลับในยามน้ำท่วม


      อุทกภัยครั้งนี้ถือได้ว่าร้ายแรงมาก เพราะน้ำท่วมเส้นทางการคมนาคมสำคัญๆ ทั้งของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท จนไม่สามารถ สัญจรไปได้นับ 300 เส้นทาง แน่ นอนว่า ภาคการขนส่งลอจิสติกส์ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ เช่นกัน เนื่องจากไม่สามารถขนส่งสินค้าไปส่งให้ลูกค้าได้ตามกำหนด และไม่สามารถกระจายสินค้าสู่มือประชาชนได้ ท้ายที่สุดสินค้าเหล่านั้นก็ย้อนกลับ หรือถูกขนกลับมายังต้นทาง


เป็นที่ทราบดีว่า การจัดการลอจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มขีดความbสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจทั้งทางด้านการลดต้นทุน การเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองลูกค้า ตลอดจนการนำเสนอความหลากหลายและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ของลูกค้าที่แตกต่างกัน
ปัจจุบันผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นเฉพาะ การเสริมสร้างประสิทธิภาพของกิจกรรมลอจิสติกส์ในทิศทางจากต้นทางไปยังปลายทาง เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ของลูกค้าเป็นหลัก ดังนั้น โครงสร้างของระบบลอจิสติกส์จึงมีทิศทางการไหลของสินค้าจากผู้จัดหาวัตถุดิบ ไปยังโรงงาน ผู้กระจายสินค้า ร้านค้าปลีก ไปจนถึงมือผู้บริโภคเป็นรายสุดท้าย
ขณะที่เทคนิคการจัดการลอจิสติกส์ ส่วนใหญ่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้าไปในทิศทางข้างหน้า (Forward Logistics) น้อยคนนักที่จะรู้จักคำว่า “Reverse Logistics” หรือ ลอจิสติกส์ย้อนกลับว่าคืออะไร? และมีบทบาทอย่างไร? ต่อการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน
ความหมายของคำว่า ลอจิสติกส์ย้อนกลับคือ กระบวนการจัดการสินค้าย้อนกลับจากลูกค้ามายังผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียกกลับสินค้าคืน สินค้าเสียหาย สินค้าไม่ได้มาตรฐาน หรือสินค้า หมดอายุใช้งาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวน การวางแผนปฏิบัติ และควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลข่าวสารจากปลายทาง ซึ่งได้แก่ ผู้บริโภค ย้อนกลับไปยังแหล่งผลิตต้นทางอย่างมีประสิทธิ ภาพและประสิทธิผล 
โดยกระบวนการจัดการลอจิสติกส์ย้อนกลับเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับรายการสินค้ามากกว่าการขนส่งขาไป แต่ถ้ามีความรอบคอบแล้วจะพบว่าการบริหารการขนส่งสินค้าย้อนกลับจะช่วยลดต้นทุน รักษาผลประโยชน์ให้องค์กร และปรับปรุงการบริการลูกค้าได้ 
ทีมข่าว สยามธุรกิจอยากนำเสนอขั้นตอนการบริหารการจัดการลอจิสติกส์ย้อนกลับ เชื่อว่าอาจจะช่วยปรับปรุงเรื่องการปฏิบัติงานสินค้าย้อนกลับได้ในยามที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่นี้ 
โดยการนำเสนอบทความของ “Paul Rupnow” กรรมการบริษัท Reverse Logistics Solutions ได้บอกวิธีการจัดการสินค้าย้อนกลับ ดังนี้
1.จัดศูนย์กลางการปฏิบัติงานย้อนกลับ พนักงานจำนวนมากและแผนก หลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสินค้า เที่ยวกลับ มักจะไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน ดังนั้น จึงควรมีศูนย์กลางปฏิบัติงานโดยตรงกับสินค้า รวมทั้งการจัดระเบียบรูปแบบ บุคลากร และกระบวน การเพื่อการดำเนินงานเป็นไปได้โดยสะดวก
2.แต่งตั้งผู้นำ การขนส่งสินค้าย้อนกลับ มักเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้จัดการแผนก เช่น แผนกบริการลูกค้า การ บริการแวร์เฮาส์ การซ่อมบำรุง และการเงิน เมื่อมีสินค้าคืนจำนวนน้อย ทำให้แผนกที่เกี่ยวข้องรู้สึกเสียเวลาในการจัดการ เพราะว่าสินค้ากลับคืนเป็นปัญหาของคนอื่นไม่ใช่ปัญหาหรือความผิดของตนเอง ส่วนมากจึงเก็บงานนี้ไว้ทำทีหลัง การแต่งตั้งผู้นำอาวุโสที่มีอำนาจตรวจสอบและบริหารงานทั้งหมดรวมถึงงบประมาณ จะช่วยให้มีการเปลี่ยน แปลงและบริหารงานสินค้าเที่ยวกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.จัดกระบวนการธุรกิจใหม่ ในการขนส่งสินค้าย้อนกลับส่วนมากแล้วจะใช้เวลานาน ความยุ่งยากทำให้เพิ่มระยะเวลาการนำสินค้ากลับให้มากขึ้นอีก การนำสินค้ากลับมีวิธีซับซ้อน และมีการจัดการสินค้าหลายขั้นตอน ระบบ ERP อาจไม่สามารถช่วยเรื่องการขนส่งสินค้ากลับได้ โดยเฉพาะสินค้าจำนวนมาก กระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพจะทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้รวดเร็วและแก้ไขปัญหาสินค้าคืนของลูกค้าได้ และยังช่วยทำให้บริษัทมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการขนส่งสินค้าเที่ยวกลับ
4.เชื่อมโยงกระบวนการขนส่งเที่ยวกลับ ความยุ่งยากมักจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการส่งมอบงานระหว่างกลุ่ม ทำให้เกิดปัญหาการจัดการข้อมูลและสินค้า สำหรับปัญหาภายในเกิดจากพนักงานหาข้อมูลในระบบที่ซ้ำซ้อนและเจรจาต่อรองกับผู้รับงานภายนอก ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการจัดการที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกลุ่มได้อัตโนมัติและสั่งการเพียงครั้งเดียว เพื่อส่งต่อสินค้าและข้อมูลที่เกี่ยว ข้อง การเชื่อมโยงจะช่วยลดปัญหาหรือข้อผิดพลาด และยังลดการเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่ม
5.รวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง การเก็บข้อมูลที่ไม่ได้ประสิทธิภาพสำหรับสินค้าส่งคืนรวมถึงช่องว่างการสื่อสารและความผิดพลาดทำให้สิ้นเปลืองและการปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง การเก็บข้อมูลอย่างละเอียด และรอบคอบในขั้นตอนการส่งคืนสินค้ารวมถึงการตรวจสอบสินค้าเหมือนเป็นงานที่เพิ่มขึ้น แต่จะเห็นผลในเรื่องการลดต้นทุนการขนส่งในอนาคต
6.ใช้การตรวจสอบแบบ real-time การตรวจสอบสถานภาพสินค้าในกระบวนการต่างๆ เป็นเรื่องยากและเสียเวลา การใช้ระบบตรวจสอบแบบ real-time จะช่วยเรื่องการรับรู้สถานภาพสินค้าตลอดกระบวนการ ทุกคนที่เกี่ยว ข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการลอจิสติกส์ (3PL) หรือลูกค้าทั้งหมด สามารถเห็นหนทางแก้ไขปัญหาโดยทันที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินไปติดต่องาน ส่งอีเมล หรือโทรศัพท์ติดต่องาน
7.ป้องกันก่อนเกิดปัญหา การทำงานที่สร้างความตึงเครียดคือปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยทันที ดังนั้น จึงควรมีการเตรียมตัวรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้น และจัดทำเป็นแผนงานเร่งด่วนเพื่อให้สามารถทำงานเพียงครั้งเดียวและแก้ไขได้โดยอัตโนมัติ สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความตึงเครียดและช่วยปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นซ้ำอีกจึงสามารถแก้ไขได้โดยอัตโนมัติ 
หวังว่าขั้นตอนการจัดการสินค้าย้อนกลับทั้ง 7 ข้อดังกล่าวจะให้ประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ หรือประชาชนในการบริหารจัดการสินค้าของท่าน เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤติน้ำท่วมในครั้งนี้ และในโอกาสอื่นๆ เพื่อให้ธุรกิจของท่านมีประสิทธิภาพ รุ่งเรือง ซึ่งเป็นจิ๊กซอว์หนึ่งของระบบเศรษฐกิจประเทศที่เข้มแข็งต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น