Language : English
สื่อในการเผยแพร่ข่าวสารหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกันเพิ่มขึ้นทั้งตอนนี้และต่อไปนะ
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554
Lean Six Sigma for the Office
Lean Six Sigma for the Office
CRC | 2008-10-30 | ISBN: 1420068792 | 344 pages | PDF | 4,6 MB
CRC | 2008-10-30 | ISBN: 1420068792 | 344 pages | PDF | 4,6 MB
Historically, the integration of manufacturing methodologies into the office environment has proven to be problematic. Part of the difficulty lies in the fact that process workflows tend to be globally dispersed and thus rely heavily on information technology. But in complex service systems that contain a mix of employees, consultants, and technology, standardized protocols have been shown to reduce cycle time and transactional cost as well as improve quality.
The successful application of Lean methodologies to improve process workflows is an efficient way to simplify operations and prevent mistakes. In Lean Six Sigma for the Office, Six Sigma guru James Martin presents proven modifications that can be deployed in offices, particularly those offices involved with global operations. Making use of Kaizen and Six Sigma concepts, along with Lean manufacturing principles, this book instructs managers on how they can improve operational efficiency and increase customer satisfaction .
Theauthor brings experience gleaned from his application of these methodologies in a myriad of industries to create a practical and hands-on reference for the office environment. Using a detailed sequence of activities, including over 140 figures and tables as well as checklists and evaluation tools, he demonstrates how to realize the rapid improvement of office operations, and how to eliminate unnecessary tasks through value stream mapping (VSM).
The book also emphasizes the importance of strategic alignment of Kaizen events and the impact of organizational culture on process improvement activities. Latter chapters in the book discuss key elements of a change model in the context of transitional improvements as they relate to the process owner and local work team. By applying the proven principles found in this book, effective and sustainable organizational change can be accomplished, efficiency can be improved, and mistakes can be eliminated.
The successful application of Lean methodologies to improve process workflows is an efficient way to simplify operations and prevent mistakes. In Lean Six Sigma for the Office, Six Sigma guru James Martin presents proven modifications that can be deployed in offices, particularly those offices involved with global operations. Making use of Kaizen and Six Sigma concepts, along with Lean manufacturing principles, this book instructs managers on how they can improve operational efficiency and increase customer satisfaction
Theauthor brings experience gleaned from his application of these methodologies in a myriad of industries to create a practical and hands-on reference for the office environment. Using a detailed sequence of activities, including over 140 figures and tables as well as checklists and evaluation tools, he demonstrates how to realize the rapid improvement of office operations, and how to eliminate unnecessary tasks through value stream mapping (VSM).
The book also emphasizes the importance of strategic alignment of Kaizen events and the impact of organizational culture on process improvement activities. Latter chapters in the book discuss key elements of a change model in the context of transitional improvements as they relate to the process owner and local work team. By applying the proven principles found in this book, effective and sustainable organizational change can be accomplished, efficiency can be improved, and mistakes can be eliminated.
7 ขั้นตอนการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับ
การปฏิบัติการโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) เป็นเรื่องที่ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะสนใจการกระจายสินค้ามากกว่า เนื่องจากไม่มีในภาคทฤษฎี ไม่มีกฎหรือวิธีสอนหรือปฏิบัติให้เห็นผล
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นเฉพาะการเสริมสร้างประสิทธิภาพของกิจกรรมโลจิสติกส์ในทิศทางจากต้นน้ำไปยังปลายน้ำเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ของลูกค้าเป็นหลัก ขณะที่เทคนิคการจัดการโลจิสติกส์ส่วนใหญ่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้าไปในทิศทางข้างหน้า (Forward Logistics) น้อยคนนักที่จะรู้จักคำว่า โลจิสติกส์ย้อนกลับ
โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) ก็คือ กระบวนการจัดการสินค้าย้อนกลับจากลูกค้ามายังผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียกกลับสินค้าคืน สินค้าเสียหาย สินค้าไม่ได้มาตรฐาน หรือ สินค้าหมดอายุใช้งาน
โลจิสติกส์ย้อนกลับ เกี่ยวข้องกับกระบวนการวางแผน ปฏิบัติ และควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลข่าวสารจากปลายทาง ซึ่งได้แก่ ผู้บริโภค ย้อนกลับไปยังแหล่งผลิตต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
กระบวนการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับรายการสินค้ามากกว่าการขนส่งขาไป แต่ถ้ามีความรอบคอบแล้วจะพบว่าการบริหารการขนส่งสินค้าย้อนกลับจะช่วยลดต้นทุน รักษาผลประโยชน์ให้องค์กร และปรับปรุงการบริการลูกค้าได้ ขั้นตอนทั้ง 7 ข้ออาจจะช่วยปรับปรุงเรื่องการปฏิบัติงานสินค้าย้อนกลับได้
1. จัดศูนย์กลางการปฏิบัติงานย้อนกลับ
พนักงานจำนวนมากและแผนกหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสินค้าเที่ยวกลับ มักจะไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน ดังนั้นจึงควรมีศูนย์กลางปฏิบัติงานโดยตรงกับสินค้า รวมทั้งการจัดระเบียบรูปแบบ บุคลากร และกระบวนการเพื่อการดำเนินงานเป็นไปได้โดยสะดวก
2. แต่งตั้งผู้นำ
การขนส่งสินค้าย้อนกลับ มักเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้จัดการแผนก เช่น แผนกบริการลูกค้า การบริการแวร์เฮาส์ การซ่อมบำรุง และการเงิน เมื่อมีสินค้าคืนจำนวนน้อย ทำให้แผนกที่เกี่ยวข้องรู้สึกเสียเวลาในการจัดการ เพราะว่าสินค้ากลับคืนเป็นปัญหาของคนอื่นไม่ใช่ปัญหาหรือความผิดของตนเอง ส่วนมากจึงเก็บงานนี้ไว้ทำทีหลัง การแต่งตั้งผู้นำอาวุโสที่มีอำนาจตรวจสอบและบริหารงานทั้งหมดรวมถึงงบประมาณ จะช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงและบริหารงานสินค้าเที่ยวกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. จัดกระบวนการธุรกิจใหม่
ในการขนส่งสินค้าย้อนกลับส่วนมากแล้วจะใช้เวลานาน ความยุ่งยากทำให้เพิ่มระยะเวลาการนำสินค้ากลับให้มากขึ้นอีก การนำสินค้ากลับมีวิธีซับซ้อน และมีการจัดการสินค้าหลายขั้นตอน ระบบ ERP อาจไม่สามารถช่วยเรื่องการขนส่งสินค้ากลับได้ โดยเฉพาะสินค้าจำนวนมาก กระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพจะทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้รวดเร็วและแก้ไขปัญหาสินค้าคืนของลูกค้าได้ และยังช่วยทำให้บริษัทมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการขนส่งสินค้าเที่ยวกลับ
4. เชื่อมโยงกระบวนการขนส่งเที่ยวกลับ
ความยุ่งยากมักจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการส่งมอบงานระหว่างกลุ่ม ทำให้เกิดปัญหาการจัดการข้อมูลและสินค้า สำหรับปัญหาภายในเกิดจากพนักงานหาข้อมูลในระบบที่ซ้ำซ้อนและเจรจาต่อรองกับผู้รับงานภายนอก ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการจัดการที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกลุ่มได้อัตโนมัติและสั่งการเพียงครั้งเดียว เพื่อส่งต่อสินค้าและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การเชื่อมโยงจะช่วยลดปัญหาหรือข้อผิดพลาด และยังลดการเจรจาต่อระหว่างกลุ่ม
5. รวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง
การเก็บข้อมูลที่ไม่ได้ประสิทธิภาพสำหรับสินค้าส่งคืนรวมถึงช่องว่างการสื่อสารและความผิดพลาดทำให้สิ้นเปลืองและการปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง การเก็บข้อมูลอย่างละเอียดและรอบคอบในขั้นตอนการส่งคืนสินค้ารวมถึงการตรวจสอบสินค้าเหมือนเป็นงานที่เพิ่มขึ้น แต่จะเห็นผลในเรื่องการลดต้นทุนการขนส่งในอนาคต
6. ใช้การตรวจสอบแบบ real-time
การตรวจสอบสถานภาพสินค้าในกระบวนการต่างๆ เป็นเรื่องยากและเสียเวลา การใช้ระบบตรวจสอบแบบ Real-time จะช่วยเรื่องการรับรู้สถานภาพสินค้าตลอดกระบวนการ ทุกคนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (3PL) หรือลูกค้า ทั้งหมดสามารถเห็นหนทางแก้ไขปัญหาโดยทันที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินไปติดต่องาน ส่งอีเมล์ หรือโทรศัพท์ติดต่องาน
7. ป้องกันก่อนเกิดปัญหา
การทำงานที่สร้างความตึงเครียดคือปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยทันที ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมตัวรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้น และจัดทำเป็นแผนงานเร่งด่วนเพื่อให้สามารถทำงานเพียงครั้งเดียวและแก้ไขได้โดยอัตโนมัติ สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความตึงเครียดและช่วยปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นซ้ำอีกจึงสามารถแก้ไขได้โดยอัตโนมัติ
ขั้นตอนทั้ง 7 ข้อดังที่กล่าวข้างต้นให้ข้อคิดว่า ผู้ประกอบการควรบริหารธุรกิจแทนที่จะบริหารกระบวนการทำงาน และพนักงานในระดับอาวุโสควรจะต้องบริหารงานแทนที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการแก้ไขปัญหาลูกค้าเป็นเรื่องที่ใช้เวลา เมื่อผู้ประกอบการได้ปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง 7 ข้อแล้ว พนักงานระดับอาวุโสจะมีเวลามากขึ้นพร้อมที่จะปฏิบัติงานประจำวัน
แปลและเรียบเรียงจากบทความของ Paul Rupnow, Director, Reverse Logistics Solutions จาก Andlor Logistics Systems Inc.
ความพร้อมและการปรับตัวของผู้นำเข้า – ส่งออกต่อ AEC
การประเมินความพร้อมและความสามารถในการปรับตัวของผู้นำเข้า-ส่งออกของไทยต่อการเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
1. บทนำ
ในบทความฉบับนี้ ผมจะทำการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมกลุ่มสินค้าอาหาร (สดและแปรรูป) ซึ่งถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวของไทยจะมีศักยภาพมากในหลายประเทศ แต่ศักยภาพดังกล่าวค่อยๆ ลดลงเนื่องจากรูปแบบของการค้าระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปและการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะได้สรุปสถานการณ์ของอุตสาหกรรมกลุ่มสินค้าอาหารดังกล่าวเพื่อให้เห็นภาพรวมและจะได้ประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่งต่างๆในตลาดโลก รวมทั้งจะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าของไทยกับประเทศคู่ภาคี โดยเฉพาะผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบการกลายเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างสมบูรณ์
เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศมีการเติบโตและการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีการแข่งขันกันส่งสินค้าที่ตนเองมีความถนัด เชี่ยวชาญและมีขีดความสามารถในการแข่งขันซึ่งเป็นไปตามทฤษฏีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ดังนั้นการวิเคราะห์ศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าของไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ที่จะส่งสินค้าออกไปแข่งขันยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ไทยได้มีการจัดข้อตกลงการค้าเสรีอยู่ด้วยนั้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับสินค้าของไทยจะทำให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามารถกำหนดกลยุทธ์การเข้าตลาดและการแข่งขันกับสินค้าคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขณะที่หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ อาทิ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศสามารถวางยุทธศาสตร์การเปิดตลาด การเจรจาและการกำหนดท่าทีได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับประเทศคู่ค้าและสภาพความเป็นจริง
ขณะที่การระบุประเภทและชนิดของสินค้าที่มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์หรือเครื่องมือวิเคราะห์หลายประเภท ทั้งในเชิงเศรษฐศาสตร์และเชิงบริหารธุรกิจ อาทิ การใช้แบบจำลอง BCG Matrix การวิเคราะห์ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ แบบจำลองแรงกดดัน 5 ประการของศาสตราจารย์ Michael E. Porter และการวิเคราะห์ความได้เปรียบในการแข่งขันของชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อให้ผลการศึกษามีความเป็นพลวัฒน์และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมต่าง ๆ การศึกษาครั้งนี้ ได้นำข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิเข้ามาวิเคราะห์ โดยเอาผลการสำรวจทัศนคติ ความคิดเห็นและการวิเคราะห์ทิศทางและการเปลี่ยนแปลงของแต่ละอุตสาหกรรมเข้ามาบูรณการในการศึกษาครั้งนี้ด้วย
ผลจากการศึกษาพบว่าสินค้าส่งออกของไทยที่มีศักยภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ได้แก่ 1. กลุ่มอาหาร (สดและแปรรูป) 2. กลุ่มสิ่งทอ 3. กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม 4. กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน 5. กลุ่มเหล็กและผลิตภัณฑ์ 6. กลุ่มพลาสติก 7. กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ 8. ยางพาราและผลิตภัณฑ์ 9. กลุ่มเซรามิก 10. กลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น 11. กลุ่มกระดาษและเยื่อกระดาษ 12. กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า 13. กลุ่มน้ำตาล ข้าว และธัญพืช 14. กลุ่มเครื่องจักรกล และ 15. กลุ่มหัตถอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งกลุ่มสินค้าดังกล่าวจะครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งครอบคลุมกลุ่มผู้ส่งออกของไทย ที่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม
2. ศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมกลุ่มสินค้าอาหาร (สดและแปรรูป)
ในปี พ.ศ.2552 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ทำให้มีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น และจากภาวะการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและตลาดภายในประเทศที่ยังคงมีการทรงตัวในระดับต่ำ ส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุนในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาในภาพรวมปรากฏว่า มีการขยายตัวของกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2551 ร้อยละ 5.8 สอดคล้องกับการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นทั้งในรูปปริมาณและมูลค่าของวัตถุดิบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เช่น สัตว์น้ำแช่เย็นแช่แข็ง และกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ ปลาทูน่า กุ้ง และสัตว์น้ำอื่น ๆ ปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 และจากนโยบายของภาครัฐบาลในการสนับสนุนโครงการครัวไทยสู่ครัวโลกทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส และสมุนไพรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2552 คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.3 เนื่องจากการผลิตในหลายสินค้า ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในช่วงครึ่งปีแรก และทยอยปรับฟื้นตัวในช่วงปลายไตรมาสที่ 3-4 โดยระดับราคาสินค้าในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงในเกือบทุกสินค้า ยกเว้นน้ำตาล ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศผู้ผลิตสำคัญหลายประเทศประสบปัญหาด้านวัตถุดิบ จากภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ประเทศผู้ผลิตรายสำคัญอย่างจีน ประสบปัญหาความปลอดภัยของอาหารที่ประเทศนำเข้าตรวจสอบพบสารตกค้างและสิ่ง ปลอมปนในอาหารจนเกิดวิกฤตความปลอดภัยทั้งในสินค้าประเภทประมง และปศุสัตว์ ทำให้ประเทศนำเข้าหันมานำเข้าสินค้าอาหารจากไทยทดแทนเพิ่มขึ้น สำหรับภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในแต่ละกลุ่ม มีดังนี้
กลุ่มปศุสัตว์ สินค้าสำคัญ คือ ไก่สดแช่แข็งและไก่แปรรูป ภาพรวมปี พ.ศ.2552 คาดว่า จะมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 0.9 เป็นผลจาก สหภาพยุโรป ได้ยกเลิกการนำเข้าไก่เนื้อจากจีน ทำให้ภาวะการแข่งขันของไก่ไทยภายใต้โควตาของ สหภาพยุโรป ลดลง ประกอบกับตลาดญี่ปุ่นและตลาดใหม่ในแถบตะวันออกกลางให้การรับรองเริ่มนำเข้า ไก่จากไทยเพิ่มขึ้นหลังจากโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ของไทยได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ราคาเปรียบเทียบไก่ของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่ง
กลุ่มประมง สินค้าสำคัญ คือ กุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้ง ภาพรวมปี พ.ศ.2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ผลิตภัณฑ์จากปลาทูน่า ปรับตัวลดลง ทำให้ในภาพรวมคาดว่าปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.7 เนื่องจากการผลิตกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ที่เป็นสินค้าหลักได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น และตลาดส่งออกหลักนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น (JTEPA) ส่งผลให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าประมงไปญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับตลาดสหรัฐฯ เริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวของการบริโภคสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น
กลุ่มผักผลไม้ ภาพรวมของการผลิต ปี พ.ศ.2552 คาดว่า จะปรับตัวลดลงร้อยละ 14.7 จากการผลิตลดลงของสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ สับปะรดกระป๋อง เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณลดลงจากปีก่อน และความต้องการของตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลง ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง
ผลิตภัณฑ์นม ธัญพืชและแป้ง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป การผลิตในปี พ.ศ.2552 คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 13.9 และ 2.7 จากระดับราคาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์นม ข้าวและแป้งสาลี โดยผลผลิตในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ส่งผลต่อต้นทุนที่ปรับตัวลดลง
น้ำมันพืช การผลิตในปี พ.ศ.2552 คาดว่า จะปรับตัวลดลงร้อยละ 7.8 เนื่องจากระดับราคาที่สูงขึ้นในช่วงต้นปี ทำให้ผู้บริโภคชะลอการบริโภคลง ต่อมาระดับราคาได้ปรับลดลงตามระดับราคาธัญพืชในตลาดโลก ทำให้ผู้ผลิตปรับลดราคาจำหน่ายในประเทศลง ส่งผลต่อการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ขณะที่ผลผลิตบางส่วนได้นำไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่ลดลงในช่วงครึ่งปีแรกทำให้การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น แต่เมื่อระดับราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นช่วงปลายปี จนทำให้การขยายตัวของการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทนได้ปรับราคาสูงขึ้น
3. การส่งออกของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์กลุ่มสินค้าอาหาร
ภาพรวมการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในปี พ.ศ.2552 จะลดลงในเชิงปริมาณ ร้อยละ 8.1 แต่จากการลดลงของระดับราคาสินค้าในตลาดโลก ส่งผลให้การส่งออกจะลดลงในเชิงมูลค่าในรูปเงินบาทร้อยละ 5.2 และในรูปเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 8.3 โดยการส่งออกได้ลดลงในทุกตลาด ตลาดส่งออกที่ลดลงมากที่สุด คือ สหภาพยุโรป รองลงมา คือ กลุ่มอาเซียน ญี่ปุ่น อาฟริกา สหรัฐฯ และตะวันออกกลาง สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
กลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง ภาพรวมปริมาณการส่งออกในปี พ.ศ.2552 มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2551 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 โดยมีปลาทูน่ากระป๋องและแปรรูป เป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.8 ส่วนมูลค่าการส่งออก พบว่า มีมูลค่าลดลงทั้งในรูปเงินบาท และเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 2.5 และ 5.3 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกลดลงในตลาดญี่ปุ่น และ สหภาพยุโรป ขณะที่ตลาดหลักเดิมอย่างสหรัฐอเมริกาขยายตัวดีขึ้นในสินค้ากุ้ง เนื่องจากปัญหาการเรียกเก็บ AD เริ่มคลี่คลาย ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคของ สหรัฐ เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น
กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ ภาพรวมการส่งออกในปี พ.ศ.2552 มีปริมาณการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และมูลค่าในรูปเงินบาทขยายตัวร้อยละ 2.4 แต่ปรับลดลงในรูปเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 1.1 โดยเป็นการขยายตัวของสินค้าผักผลไม้สดและแห้งมากกว่าในรูปของกระป๋องและแปรรูป และเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ ประเทศจีน และกลุ่มอาเซียน
กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ สินค้าหลัก คือ ไก่และสัตว์ปีก คาดว่า ในปี พ.ศ.2552 ภาพรวมปริมาณการส่งออกจะลดลงร้อยละ 2.2 และมูลค่าทั้งในรูปเงินบาทและเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.5 และ 9.1 เนื่องจากระดับราคาสินค้าปรับลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวลง ตั้งแต่ช่วงต้นปี
ในปี พ.ศ.2547 ภาวะการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2546 ร้อยละ 9.0 หรือส่งออกเป็นมูลค่า 10,278.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าอาหารส่วนใหญ่ส่งออกในมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.2 เป็นผลจากการผลักดันระดับราคาในตลาดโลก และส่งออกได้มากเป็นประวัติการณ์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.7 จากการเปิดตลาดจีนเพิ่มขึ้นตามข้อตกลงการทำเขตการค้าเสรี ผลไม้กระป๋องและแปรรูป โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋อง แม้ว่าปริมาณการส่งออกจะลดลง แต่ระดับราคาที่สูงขึ้นทำให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 สินค้าประมง (ไม่รวมกระป๋องและแปรรูป) มีมูลค่าไม่แตกต่างจากปี พ.ศ.2546
ส่วนอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ส่วนใหญ่เป็นผลจากระดับราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับสินค้าอาหารที่ส่งออกลดลง ได้แก่ น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล มูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 10.4 เนื่องจากการปรับตัวของระดับราคาตลาดโลกที่ตกต่ำลง ส่วนหนึ่งมาจากการอุดหนุน การส่งออกของสหภาพยุโรป ซึ่งในอนาคตราคาอาจปรับตัวสูงขึ้นได้ เนื่องจากองค์การการค้าโลกได้ประกาศให้สหภาพยุโรปยกเลิกการอุดหนุน และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ โดยเฉพาะไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไม่สามารถส่งออกได้เนื่องจากผลกระทบของการระบาดของโรคไข้หวัดนก ซึ่งส่งผลทางจิตวิทยากับประเทศนำเข้าหลัก คือ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ประกาศห้ามนำเข้าจนกว่าจะสามารถกำจัดได้หมด แต่นำเข้าไก่แปรรูปทดแทน ทั้งนี้มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 โดยภาพรวมทั้งหมวดปศุสัตว์ลดลงร้อยละ 44.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน
4. แนวโน้มของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์กลุ่มสินค้าอาหาร
แนวโน้มการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี พ.ศ.2553 คาดว่า จะขยายตัวจากปี พ.ศ.2552 ร้อยละ 2.9 ขณะที่การคาดการณ์การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี พ.ศ.2553 ในเชิงมูลค่าในรูปเงินบาทจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.1 แต่หากไม่รวมการส่งออกข้าว ภาพรวมการส่งออกจะขยายตัวในเชิงมูลค่ารูปเงินบาทและเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.3 และ 9.8 โดยมีปัจจัยภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวของสหรัฐอเมริกา และประเทศผู้นำเข้าทั้งสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การผลิตและการส่งออกของไทยในสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การประกาศลดค่าเงินของประเทศคู่แข่งและการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันทางการค้ารูปแบบต่าง ๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังการประกาศมาตรการกีดกันรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของแรงงาน ซึ่งจะทยอยประกาศใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ นอกจากนี้การเร่งแก้ไขปัญหาความปลอดภัยของอาหารที่จีนเคยถูกปฏิเสธการนำเข้า เริ่มกลับมาส่งออกได้ อาจส่งผลต่อการแข่งขันกับสินค้าไทยได้ในอนาคต สำหรับการคาดการณ์แนวโน้มการผลิตและการส่งออกในปี พ.ศ.2553 ในแต่ละกลุ่ม มีดังนี้
กลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง แนวโน้มการผลิตในปี พ.ศ.2553 คาดว่า จะขยายตัวจากปีก่อนประมาณร้อยละ 7.0 สำหรับการส่งออก คาดว่า จะมีการขยายตัวในเชิงปริมาณร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2552 ที่หดตัวร้อยละ 3.9 ส่วนในเชิงมูลค่าคาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 5.2 ในรูปเงินบาทและร้อยละ 6.6 ในรูปเหรียญสหรัฐ โดยจะเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องและแปรรูป ในส่วนกุ้งแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป อาจจะลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.8 ในรูปเงินบาท และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในรูปเหรียญสหรัฐ
กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ แนวโน้มการผลิตในปี พ.ศ.2553 คาดว่า จะเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.5 สำหรับการส่งออก คาดว่า จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณ และในเชิงมูลค่าทั้งในรูปเงินบาทและเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 6.6 6.9 และ 8.5 ตามลำดับ
กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ แนวโน้มการผลิตในปี พ.ศ.2553 คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 4.5 สำหรับการส่งออก คาดว่า จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณร้อยละ 6.5 ในเชิงมูลค่าจะขยายตัวร้อยละ 9.1 ในรูปเงินบาท และร้อยละ 10.7 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากได้รับผลดีจากการรับรองโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ของไทยจากประเทศญี่ปุ่นและตะวันออกกลางเพิ่มขึ้น รวมถึงผลจากความตกลง JTEPA ประกอบกับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัว ซึ่งจะทำให้ภาพรวมการส่งออกไก่เนื้อของไทยขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
น้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์นม แนวโน้มการผลิตน้ำมันพืชในปี พ.ศ.2553 คาดว่า จะปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจของไทย และราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบกับราคาปาล์มน้ำมันที่เริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่กลางช่วงไตรมาส 3 ของปี พ.ศ.2551 จนกระทั่งต้นปี พ.ศ.2552 นอกจากนี้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ระดับราคาปาล์มน้ำมันอาจปรับลดลงอีกในช่วงปลายปี 2552 ที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ส่วนผลิตภัณฑ์นมเนื่องจากการปรับราคาน้ำนมดิบในปี พ.ศ.2552 เริ่มส่งผลต่อระดับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมที่ปรับเพิ่มขึ้น อาจทำให้ความต้องการบริโภคนมลดลง ส่งผลให้การผลิตอาจปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 4.0
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมอาหารปี พ.ศ.2552 คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารยังคงเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2551โดยมีปัจจัยต่าง ๆ สนับสนุน ดังนี้
- การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจไทยและของโลกมีแนวโน้มขยายในลักษณะทรงตัว ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นด้วย
- การเร่งผลักดันโครงการครัวไทยสู่โลกของรัฐบาลให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรมจะทำให้การส่งออกวัตถุดิบประเภทอาหารทะเล ปศุสัตว์ ผัก ผลไม้ เครื่องเทศและสมุนไพร เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
- การได้คืนสิทธิ GSP ในสินค้ากุ้งจากสหภาพยุโรป และการประกาศการตอบโต้การทุ่มตลาดของสหรัฐอเมริกาในสินค้ากุ้งที่ต่ำกว่าการคาดการณ์และต่ำกว่าประเทศคู่แข่งทำให้ไทยได้รับการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีการทุ่มตลาดในอัตราดังกล่าว ส่งผลทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าประเภทนี้เพิ่มขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหารในปี พ.ศ.2554 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีศักยภาพในตลาดหลักของไทย มีดังนี้
1) สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลกระป๋อง เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง และอาหารทะเลแปรรูปมีแนวโน้มผลิตและส่งออกเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านต่างประเทศ คือ การได้คืนสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร GSP จากสหภาพยุโรป ประกอบกับสินค้ากุ้งมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากการประกาศผลการฟ้องเรียกเก็บภาษีทุ่มตลาดในประเทศของสหรัฐอเมริกาต่ำกว่าที่คาดการณ์ และต่ำกว่าคู่แข่งจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการส่งออกกุ้งไทยเพิ่มขึ้น
2) สินค้าพืชผักผลไม้แปรรูป สับปะรดกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ ซึ่งไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกกว่าร้อยละ 30 มีแนวโน้มผลิตและส่งออกชะลอตัว เนื่องจากผลกระทบจากภัยแล้งที่คาดว่าจะรุนแรงทำให้ผลผลิตลดลง
3) สินค้าอื่น ๆ เช่น สมุนไพรและเครื่องปรุงรส มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจกับอาหารเพื่อสุขภาพ ประกอบกับการประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติรู้จักและบริโภคอาหารไทยเพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าน้ำตาลทรายคาดว่า จะส่งออกได้เพิ่มขึ้นหลังจากการเจรจากับประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย และการที่องค์การการค้าโลกประกาศผลการไต่สวนกรณีการอุดหนุนการส่งออกของสหภาพยุโรป อาจทำให้ระดับราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกเพิ่มขึ้นในอนาคต
5. บทสรุป
ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมสินค้าอาหาร (สดและแปรรูป) ของไทยถือได้ว่ามีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง แต่ประสบปัญหาในเรื่องของการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้แนวโน้มมูลค่าการส่งออกในผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ในแต่ละหมวดชะลอตัวลง โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยการผลิตในประเทศที่ลดลง ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น คุณภาพวัตถุดิบและประสิทธิภาพการผลิตยังขาดคุณภาพ และประสิทธิภาพของเครื่องจักรในส่วนของโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อมมีระยะเวลาการใช้ที่นาน และการนำมาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะในเรื่องของมาตรการด้านสุขอนามัยมาใช้ ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยหรือแรงกดดันด้วยเงื่อนไขทางด้านอุปสงค์ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าส่งออกของประเทศไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง
ดังนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงให้เกิดต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำสุดและการคิดค้นเพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ขั้นกลาง และสำเร็จรูปที่ตรงกับความต้องการของตลาดต่างประเทศในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยยึดหลักมาตรฐานการผลิตในระดับสากล ทั้งนี้เพื่อรักษาหรือพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในด้านการแข่งขันเพื่อส่งออกสินค้าของไทยให้คงไว้ทั้งในด้านของปริมาณและคุณภาพของสินค้าซึ่งหมายถึงการสร้างหรือคงรายได้เงินตราต่างประเทศและการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจในส่วนของภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ ซึ่งมีพืชอาหารและสินค้าอาหารเป็นองค์ประกอบสำคัญให้มีความยั่งยืนในระยะยาวPaper Work
ประติมากรรมกระดาษที่มีรายละเอียดสูงเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยศิลปินจากประเทศสหรัฐอเมริกาและยังเป็นสถาปนิกที่มีชื่อว่า คริสติน่า ลีฮาน ซึ่งรับได้การฝึกอบรม ผ่านการผสมผสานทักษะการเป็นมืออาชีพของเธอ ทำให้การออกแบบประติมากรรมกระดาษที่มีรายละเอียดสูงที่สวยงามเหล่านี้ติดตั้งอยู่ใน Shadowboxes บางส่วนเป็นสถานที่สำคัญที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น ทัชมาฮาล, หอไอเฟล, อาคารของสหรัฐในเมืองและบางส่วนที่พักอาศัยส่วนตัว ออกแบบโดยคริสติน่า ลีฮาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)