วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

Logistics Operations and Management: Concepts and Models

Reza Farahani, Shabnam Rezapour, Laleh Kardar, "Logistics Operations and Management: Concepts and Models"
Els..ier | 2011 | ISBN: 0123852021 | 486 pages | PDF | 5,8 MB

Product Description
This book provides a comprehensive overview of how to strategically manage the movement and storage of products or materials from any point in the manufacturing process to customer fulfillment. Topics covered include important tools for strategic decision making, transport, packaging, warehousing, retailing, customer services and future trends.
-     An introduction to logistics
-     Provides practical applications
-     Discusses trends and new strategies in major parts of the logistic industry

RFID เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับในอุตสาหกรรมอาหาร

การตรวจสอบสถานภาพสินค้าอย่าง Real Time ทำให้สามารถวางแผนการผลิตทั้งในเรื่องตรวจสอบคุณภาพ ความสูญเสีย และกำลังผลิต
กระบวนการโลจิสติกส์ภายในโรงงานผลิต (Internal Logistics) เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมีบทบาทสำคัญในการวางแผนการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งปัญหาส่วนมากมักเกิดจากการสูญเสียระหว่างการขนส่ง การแปรรูปอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งเป็น 3 เรื่องหลักที่ RFID เข้ามามีส่วนร่วมทำให้กระบวนผลิตสามารถมองเห็นเป็นภาพ (Visibility) และตรวจสอบได้ (Traceability)
ดร. นัยวุฒิ วงษ์โคเมท บริษัท ไอ.อี.เทคโนโลยี จำกัด ได้ทำการศึกษาเทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารไทย โดยการสนับสนุนจากสถาบันส่งเสริมความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย (RFID Institute of Thailand) โดยได้แสดงความคิดเห็นถึงสถานการณ์ในอุตสาหกรรมอาหารโลกว่า อาหารที่ผลิตขึ้นมามากกว่าครึ่งคือการสูญเสีย สูญหาย หรือต้องนำไปทิ้ง เนื่องจากประสิทธิภาพการจัดการซัพพลายเชนโดยบุคลากรไม่มีคุณภาพพอเพียง ต่อเมื่อนำ RFID มาใช้จะสามารถช่วยในตรวจสอบอย่าง Real Time เกิดผลประโยชน์ในเรื่องความเชื่อถือได้ ความรวดเร็ว แม่นยำ สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลไอทีอื่นๆ ในระบบได้ เพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจ เปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพในซัพพลายเชนทั้งระบบ


การทำงานของ RFID ในอุตสาหกรรม
RFID (Radio Frequency Identification) เป็นระบบที่นำเอาคลื่นวิทยุมาเป็นคลื่นพาหนะเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิดที่เรียกว่า tag และตัวอ่านข้อมูล (Reader หรือ Interrogator) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) โดยการนำข้อมูลที่ต้องการส่ง มาทำการ modulation กับคลื่นวิทยุแล้วส่งออกผ่านทางสายอากาศที่อยู่ในตัวรับข้อมูล การประยุกต์ใช้งาน RFID จะมีลักษณะการใช้งานที่คล้ายกับบาร์โค้ด (Barcode) และยังสามารถรองรับความต้องการอีกหลายอย่างที่บาร์โค้ดไม่สามารถตอบสนองได้ แต่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ สำหรับเป็นข้อมูลทางการขายสินค้าปลีกต่อไป
องค์ประกอบที่สำคัญของ RFID คือ tag มีทั้ง Active Tag มีแบตตอรี่อยู่ภายในสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ Passive Tag ไม่มีแบตตอรี่แต่จะทำงานโดยอาศัยพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากตัวอ่านข้อมูล Semi Passive Tag มีแบตตอรี่อยู่ แต่ไม่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของตัวอ่านข้อมูลหรือ Reader/Interrogator รับข้อมูลที่ส่งมาจาก Tag แล้วทำการตรวจสอบ ถอดรหัสข้อมูลและนำข้อมูลเข้าสู่ Middleware ทำหน้าที่เชื่องโยงฮาร์ดแวร์กับแอพพลิเคชั่นที่อุตสาหกรรมใช้ เช่น ERP ก่อนจะส่งไปยัง Enterprise Software ในองค์กรที่ใช้งานเพื่อนำไปประมวลผลขั้นสูงและประกอบการตัดสินใจต่อธุรกิจ
การตรวจสอบย้อนกลับในอุตสาหกรรมอาหาร
เทคโนโลยี RFID มีประโยชน์ในเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร เพราะเมื่อเห็นกระบวนการผลิตอย่าง Real Time แล้ว ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตสามารถเห็นสถานภาพของสินค้าได้ทันที โดยเฉพาะเวลามีวิกฤตการณ์การปนเปื้อนสารเคมี เชื้อโรคในอาหาร การใช้เทคโนโลยี RFID สามารถตอบสอบได้ว่า ส่วนผสมมาจากที่ใดบ้าง ผลิตวันและเวลา สินค้ามี Shelf Life เหลืออยู่เป็นระยะเวลาเท่าใด อาหารปลอดภัยต่อการบริโภคหรือไม่
เมื่ออุตสาหกรรมอาหารขึ้นอยู่กับความสดใหม่เป็นสำคัญ RFID สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงการเห็นภาพโดยรวม (visibility) ความปลอดภัย การตัดสินใจ การจัดการสินค้าเข้าออก (FIFO) ความถูกต้อง นอกจากนี้แล้ว ต้นทุนของ RFID คิดเป็น 10-20% ของระบบทั้งหมด
การนำ RFID ไปใช้กับสินค้าผักผลไม้โดยนำ Tag ติดไว้ตระกว้าหรือฝังไว้ตะกร้า ถ้าใช้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์จะนำไปติดไว้ในหูของสัตว์ที่จะถูกนำไปชำแหละตั้งแต่ในฟาร์ม จุดรับซื้อ รวบรวมส่งเข้าโรงงานไปยังศูนย์กระจายสินค้าจนถึงผู้บริโภค ลักษณะการใช้ถูกแบ่งเป็นกระบวนการสั้นๆ แล้วนำข้อมูลมาต่อกัน ข้อมูลที่ได้เป็น Real Time แล้วนำมาประมวลผล การจัดการการผลิต เครื่องมือที่ใช้นำมา Integrate เข้าด้วยกันจนสามารถส่งข้อมูลได้ไกลในระดับประเทศได้ จึงเป็นประโยชน์เมื่อต้องการค้าขายกับต่างประเทศ ในช่วงเวลาที่ความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องที่คู่ค้าต่างชาติให้ความสำคัญ

กรณีศึกษาการตรวจสอบย้อนกลับ
จากการศึกษาพืชผักสดจากโครงการหลวง ใช้การติด Tag กับตะกร้าใหญ่แล้วกระจายสู่ตะกร้าเล็กเพื่อทำการตัดแต่ง แล้วนำสู่สายพานและบรรจุเป็นแพ็คย่อยซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นบาร์โค้ด ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์จึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่จุดผลิต ประหยัดต้นทุนค่าแรงงานที่ต้องใช้ในการจดข้อมูลสินค้าและลดความผิดพลาดที่เกิดจาก Human Error
ด้านเครือเบทาโกร ใช้กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับอย่างเต็มรูปแบบเรียกว่า Betagro e-Traceability รวมทั้งได้ดำเนินโครงการประกันความปลอดภัยและคุณภาพอาหาร เพื่อให้กระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยทั้งระบบและมีขั้นตอนมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีเครื่อง Spy on Me Kiosk ติดตั้งในซูเปอร์มาร์เกตชั้นนำ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งผลิตของสินค้าที่ผลิตโดยเบทาโกรได้
CPF ใช้เทคโนโลยี RFID ในด้าน Food Traceability เริ่มตั้งแต่การนำสุกรเข้าสู่โรงงานชำแหละซึ่งจะมี RFID Tag ติดอยู่บนขอเกี่ยว จากนั้นเข้าสู่กระบวนการผลิตแปรรูปโดยมี Tag ติดอยู่ที่ตะกร้า เดินทางไปจนถึงการผลิตเป็นแพ็คเกจ ขั้นตอนสุดท้ายของระบบจะถูกเปลี่ยนเป็นบาร์โค้ดเพื่อกระจายไปยังซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้ผู้บริโภคสามารถติดตามตรวจสอบย้อนกลับจากข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ เช่น เนื้อซื้อมามาจากฟาร์มไหน ถูกชำแหละเมื่อใด
ระบบการตรวจสอบย้อนกลับในอุตสาหกรรมผลิตกุ้ง โดยการนำ Tag ไปติดไว้ตะกร้าและดำเนินการตั้งแต่การแบ่งขนาดกุ้ง แกะเปลือก คัดไซส์ ตัดหัว เครื่องอ่านซอฟท์แวร์จะทำการบันทึกข้อมูลแล้วนำมาแชร์ร่วมกันให้กับบริษัทคู่ค้า จากเดิมใช้พนักงาน 9 คนในการจดบันทึกเมื่อใช้เทคโนโลยี RFID ให้พนักงาน 1 คนในการดำเนินการ

นอกจากการใช้เทคโนโลยี RFID เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและการสูญเสียอาหารแล้ว การใช้เทคโนโลยีนี้ยังสามารถช่วยวางแผนกำลังการผลิต เมื่อข้อมูลเป็น Real Time ทำให้ตรวจสอบว่าพนักงานคนไหนทำอะไรบ้าง จึงสามารถจ่ายแรงงานตามน้ำหนักที่พนักงานทำงาน ถ้าเกิดความผิดปกติจากการผลิต เช่น น้ำหนักสินค้าไม่ตรงตามมาตรฐาน สามารถระบุได้ว่าพนักงานคนไหนทำ หลังจากนั้นจึงฝึกพนักงานคนนั้นใหม่ให้ปฏิบัติงานให้ถูกต้องต่อไป
RFID ตรวจสอบเรื่อง Yield คุณภาพ น้ำหนัก การสูญหาย และกำลังการผลิต ทั้งหมดนี้จะนำมารวมเป็นข้อมูลเพื่อควบคุมการผลิต แสดงให้เห็นภาพการผลิตในแต่ละจุดว่า การผลิตขณะนี้เป็นจำนวนเท่าไร และยังไม่ได้ผลิตอีกเท่าใด ระบุชัดให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการผลิตขณะนั้น รวมถึงการเมื่อการขนย้ายอาหารที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ RFI Dจะช่วยตรวจสอบว่าการขนส่งอาหารถูกต้องตามอุณหภูมิที่กำหนดหรือไม่
ผู้ประกอบการยังไม่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบย้อนกลับ จนกว่าจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยอาหารเกิดขึ้น จึงตรวจสอบ แต่การใช้เทคโนโลยี RFID ตั้งแต่ปัญหายังไม่เกิดจะช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ตรวจสอบได้แม่นยำ นำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ วางแผนการผลิต ระยะเวลาการคืนทุนไม่เกิน 2 ปีดร.นัยวุฒิ กล่าวสรุป