สื่อในการเผยแพร่ข่าวสารหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกันเพิ่มขึ้นทั้งตอนนี้และต่อไปนะ
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
Sino - African เมื่อพญามังกรบุกกาฬทวีป
วิธีร์ พานิชวงศ์, สุทธิ สุนทรานุรักษ์, วิเชียร แก้วสมบัติ
เหตุการณ์ประท้วงของผู้คนเรือนล้านในอียิปต์เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารัก แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างหนึ่งนะครับว่า ประชาชนทั่วโลกทุกวันนี้นอกจากจะโหยหาความเป็นอยู่ที่ดีจากระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมแล้ว พวกเขายังต้องการระบอบการปกครองที่เป็น “ประชาธิปไตย” ซึ่งหมายถึง การให้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกในสังคมที่พวกเขาอยู่ ซึ่งถ้ามองแบบนักเศรษฐศาสตร์แล้วหากสังคมใดต้องการบริโภคระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริโภคสินค้าที่ชื่อว่าประชาธิปไตย (Democracy Goods) ร่วมด้วย
สำหรับซีรีส์ชุด Emerging Economy ในฉบับนี้ ผู้เขียนจะแนะนำให้ท่านได้รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ว่ากันว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ “น่าจับตา” เป็นอย่างยิ่งในศตวรรษนี้ นั่นก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอภิมหาพญามังกร “จีน” กับกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา หรือที่เรียกกันว่า Sino-African นั่นเอง ครับ
โดยทั่วไปแล้วการใช้คำว่า Sino (อ่านว่า ชิโน) นำหน้านั้น หมายถึง การแสดงความสัมพันธ์ที่มีประเทศจีนเป็นตัวตั้ง ด้วยเหตุที่จีนเป็นประเทศมหาอำนาจ ดังนั้น อิทธิพลของจีนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และภาษาจึงสามารถแผ่ไปได้ทั่วทั้งโลก
รู้จัก Sino-African: ความสัมพันธ์บนความเข้าใจอันดีก่อนจะเล่าถึงที่มาของความสัมพันธ์ของทั้งสองนั้น ขออนุญาตเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบสักนิดนะครับว่า ทั้งจีนและประเทศในทวีปแอฟริกานั้น ล้วนเคยได้รับความบอบช้ำซ้ำเติมจากการตกเป็นอาณานิคมในยุคสมัยที่มีการ “ล่าเมืองขึ้น” ของฝรั่งจากยุโรป
ในสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย จีนโดนทั้งญี่ปุ่นและชาติตะวันตกรุกรานและกดดันให้ต้องทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหลายฉบับจนส่งผลให้แผ่นดินจีนช่วงนั้นทรุดโทรมนานหลายสิบปี และแม้ว่ารัฐบาลกษัตริย์ต้าชิงจะถูกปฏิวัติโค่นล้มไปแล้วแต่รัฐบาลทหารในยุคต่อมาก็ยังสร้างความเจ็บช้ำให้กับชาวจีนไม่แพ้รัฐบาลกษัตริย์เช่นกัน จนเป็นเหตุให้เกิด “สงครามกลางเมือง” สู้รบกันระหว่างพรรครัฐบาลทหารที่มีนายพลเจียง ไค เช็ค เป็นผู้นำ และคนของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มี “เหมา เจ๋อ ตุง” เป็นผู้นำทัพชาวนาลุกขึ้นต่อสู้ และในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็สามารถยึดอำนาจการบริหารปกครองประเทศมาได้จวบจนทุกวันนี้
ขณะที่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกานั้นก็โดนชาติตะวันตก ทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ร่วมกระทำปู้ยี่ปู้ยำ ล่าอาณานิคมและแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย และท้ายที่สุดก็ได้ทิ้ง “มรดกบาป” ไว้ ด้วยการให้เอกราชบนความขัดแย้งของชนเผ่าที่แตกต่างกัน
ทั้งหมดนี้แหละครับที่ทำให้ทั้งจีนและแอฟริกาดูจะเข้าอกเข้าใจเป็นอย่างดีว่า การถูกรังแก กดขี่ ข่มเหงและมีสภาพเป็นเมืองขึ้นนั้นมันเป็นอย่างไร
หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นครองอำนาจเมื่อปี 1949 แล้ว ทวีปแอฟริกาเป็นดินแดนแรกที่จีนเปิดฉากความสัมพันธ์ด้วยครับ และว่ากันว่าในช่วงทศวรรษที่ 50 นั้นมีชาวจีนนับแสนคนอพยพไปตั้งรกรากอยู่ในทวีปแอฟริกาอยู่หลายประเทศ จนสามารถสร้างไชน่าทาวน์ได้ เช่น ไชน่าทาวน์ในเมืองโยฮันเนสเบิร์ก แอฟริกาใต้, ไชน่าทาวน์ในเกาะมาดากัสการ์และมอริเชียส เป็นต้น
ภาพการเต้นรำของสาว ๆ แอฟริกันใน Johannesburg China Town เพื่อร่วม
ฉลองมหกรรมกีฬาโอลิมปิกปี 2008 ปักกิ่งเกมส์ ที่จีนเป็นเจ้าภาพ
ฉลองมหกรรมกีฬาโอลิมปิกปี 2008 ปักกิ่งเกมส์ ที่จีนเป็นเจ้าภาพ
ความสัมพันธ์จีนและแอฟริกาเริ่มแนบแน่นมากขึ้น เมื่อ โจว เอิน ไหล (Zho Enlai) อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของจีนและเป็นมือขวาของประธานเหมา ได้เริ่มออกเยือนประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกาช่วงระหว่างปี 1963-1964 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีนกับทวีปแอฟริกา โดย โจว เอิน ไหล ได้เคยแสดงวิสัยทัศน์ไว้ในครั้งที่มีการประชุมกลุ่มประเทศโลกที่สาม (Third World) ที่เมืองบันดุง อินโดนีเซีย (Bandung Conference) ในปี 1955 ไว้ว่า จีนจะขออาสาเป็นผู้นำกลุ่มประเทศโลกที่สามเองโดยเป้าหมายแรกที่จีนจะผูกสัมพันธ์อันดีด้วย คือ ทวีปแอฟริกา ทั้งทวีป
น่าสนใจนะครับว่านโยบายของรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยนั้นนับว่ามี “วิสัยทัศน์” มากพอที่จะมองเห็นช่องทางการผูกมิตรกับประเทศเกิดใหม่ทั้งหลายในแอฟริกา ซึ่งก็กลายเป็นผลดีกลับรัฐบาลยุคหลัง ๆ เนื่องจากกลุ่มประเทศแอฟริกามีความเชื่อมั่นในความจริงใจของจีนมากกว่าชาติตะวันตก
ในช่วงต้น ๆ ของความสัมพันธ์ รัฐบาลจีนส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข วิศวกร รวมทั้งเข้าไปช่วยก่อสร้างถนนหนทางในประเทศที่กำลังเกิดใหม่เหล่านั้น เช่น จีนเข้าไปช่วยสร้างถนนในแทนซาเนียเกือบสองพันกิโลเมตรโดยมีคนงานจีนกว่าห้าหมื่นคนเข้าไปทำถนนให้ กล่าวกันว่า การที่จีนเลือกที่จะคบหาเปิดสัมพันธ์กับประเทศเกิดใหม่ในแอฟริกานี้นับเป็น “ยุทธศาสตร์” ทางการทูตที่ชาญฉลาด เนื่องจากจีนถูก “โดดเดี่ยว” จากโลกตะวันตกเพราะมีระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกัน ขณะเดียวกันจีนเองก็ต้องการหนีให้พ้นจากร่มเงาของพี่ใหญ่คอมมิวนิสต์ตัวจริงอย่าง “สหภาพโซเวียต” ด้วยเหตุนี้เอง แอฟริกา จึงเป็นเป้าหมายลำดับต้น ๆ ที่จีนจะเลือกผูกมิตรไว้
โจว เอิน ไหล ที่ Bandung Conference ในปี 1955
กับวิสัยทัศน์ที่จะสร้างให้จีนเป็นผู้นำของกลุ่มประเทศโลกที่สาม
ตลอดความสัมพันธ์ที่ผ่านมารัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่ว่าจะอยู่ภายใต้การนำของผู้นำพรรคคนไหนได้วางให้แอฟริกายังเป็นยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศที่สำคัญในการทำการค้า การลงทุน การเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษา เช่น ในปี 1995 ที่ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อ หมิง (Jiang Zemin) ได้ประกาศนโยบาย Go Out ให้นักลงทุนชาวจีนออกไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนซึ่งทวีปแอฟริกาจึงเป็นหนึ่งพื้นที่สำคัญที่นักลงทุนจีนเข้าไป
ณ วันนี้ ทั้งจีนและแอฟริกามีผลประโยชน์ร่วมกันจากความสัมพันธ์โดยจีนได้ให้ความช่วยเหลือกับประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาทั้งในรูปของเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เงินช่วยเหลือ รวมทั้งขายสินค้าให้ในราคาถูก ขณะที่แอฟริกาก็ได้ขายหรือให้สัมปทานกับนักลงทุนจีนในด้านพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ
มีข้อมูลที่น่าสนใจอีกนะครับว่า นับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมานั้น กลุ่มนักธุรกิจจากจีนและแอฟริกาได้ลงนามในข้อตกลงทางธุรกิจจำนวน 14 ฉบับ คิดเป็นเงินเกือบสองพันล้านดอลลาร์ โดยมีโครงการสำคัญ ๆ ที่นักลงทุนจีนได้ไป เช่น การก่อสร้างระบบเครือข่ายโทรคมนาคมในกานา โรงงานอลูมิเนียมในอียิปต์ โครงการก่อสร้างทางด่วนในไนจีเรีย เป็นต้น
Afro China
โฟร์แมนชาวจีนกับคนงานก่อสร้างในประเทศ เอริเทรีย (Eritrea)
ปัจจุบันจีนเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในทวีปแอฟริการวมทั้งสิ้น 48 ประเทศครับ โดยประเทศเหล่านี้ยอมรับใน “นโยบายจีนเดียว” และไม่ได้ดำเนินความสัมพันธ์กับไต้หวันแต่อย่างใด นอกจากนี้จีนพยายามเกลี้ยกล่อมประเทศที่เหลืออย่าง สวาซีแลนด์ หรือ มาลาวี ให้หันมาเปิดสัมพันธ์กับจีนด้วยการเร่งให้ความช่วยเหลือทางการเงินและการลงทุนโดยหวังว่าประเทศเหล่านี้จะหันมายอมรับนโยบายจีนเดียวในที่สุด
ประธานาธิบดีหู จิน เทา (ซ้าย) และ นายกรัฐมนตรี เหวิน เจีย เป่า (ขวา) กับบทบาททางการทูต
ในการกระชับความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศแอฟริกาเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าและการทูตที่ต้องการให้
ทั่วโลกหันมายอมรับนโยบายจีนเดียวของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ทั่วโลกหันมายอมรับนโยบายจีนเดียวของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
นับตั้งแต่จีนเริ่มก้าวเข้าสู่การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจตัวจริงแล้ว มูลค่าการค้าระหว่างจีนและทวีปแอฟริกานั้นสูงขึ้นถึง 100 พันล้านดอลลาร์เลยทีเดียวนะครับ จีนได้ประโยชน์จากคู่ค้าอย่างแองโกลา เรื่องของการนำเข้าน้ำมัน (ปัจจุบันจีนนำเข้าน้ำมันจากแอฟริกาเป็นสัดส่วนราว ๆ 30 %) นอกจากนี้หลายประเทศคู่ค้าของจีนยังเป็นแหล่งสินค้าโภคภัณฑ์ที่จีนมีความต้องการมาก เช่น ทองแดง เหล็ก ทองคำขาว นิกเกิล ไม้ซุง และฝ้าย ซึ่งทุกวันนี้จีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ทองแดงจากแซมเบียและคองโก นำเข้าเหล็กและทองคำขาวจากแอฟริกาใต้ นำเข้าไม้ซุงจากกาบองและแคมารูน เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าจีนเองได้ประโยชน์จากทวีปแอฟริกาในแง่ที่ได้ปัจจัยการผลิตราคาถูกซึ่งสามารถมาหล่อเลี้ยงประชากรจีนในประเทศนับพันล้านคนได้ ขณะที่ในแง่ของการลงทุนนั้นแอฟริกาเป็นแหล่งลงทุนด้านพลังงานที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งของจีนครับ ซึ่งนักลงทุนจีนเพิ่งจะได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันในแองโกลา ซูดาน และไนจีเรีย (ไนจีเรียเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของทวีปแอฟริกาและรายใหญ่อันดับที่ 11 ของโลก) เช่นเดียวกับที่จีนยังทำข้อตกลงสำรวจและผลิตน้ำมันในอีกหลายประเทศ เช่น กาบอง และมอริเตเนีย นี่ยังไม่นับรวมชัยชนะที่นักลงทุนจีนได้ในงานประมูลโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานหลาย ๆ โครงการ เช่น สร้างทางรถไฟ ท่อส่งน้ำมัน ปรับปรุงท่าเรือ ฯลฯ
นาย Jean Ping ตัวอย่างลูกผสม Sino-African
Jean Ping เป็นนักการทูตและนักการเมืองของประเทศกาบอง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานของ The Commission of African Union
Jean Ping มีพ่อเป็นนักธุรกิจชาวจีน และมีแม่เป็นเจ้าหญิงเผ่าหนึ่งในกาบอง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานของ The Commission of African Union
Jean Ping มีพ่อเป็นนักธุรกิจชาวจีน และมีแม่เป็นเจ้าหญิงเผ่าหนึ่งในกาบอง
ในปี 2006 จีนได้จัดการประชุม Sino-African Summit ขึ้นที่ปักกิ่ง เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสอง ซึ่งการประชุมครั้งนั้นมีผู้นำจากแอฟริกาถึง 48 ชาติเข้าร่วมประชุมกับประธานาธิบดีหู จิน เทา โดยสาระสำคัญของการประชุม คือ การพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองให้แนบแน่นขึ้นไปอีกโดยเฉพาะทางด้านการค้า การลงทุน โดยจีนเสนอวงเงินกู้พิเศษกว่าห้าพันล้านดอลลาร์ให้กับผู้ซื้อในแอฟริกาที่ต้องการนำเข้าสินค้าจากจีน
ประธานาธิบดีหู จิน เทา กับ นางเอลเลน จอห์นสัน (Ellen Johnson)
ประธานาธิบดีของไลบีเรียในการประชุม Sino-African Summit ที่ปักกิ่ง
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์เศรษฐกิจหลายคนมองว่าแม้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและแอฟริกาจะมีความแนบแน่นมาตลอดห้าสิบกว่าปี แต่จีนสามารถเข้าไปครอบงำประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาได้คล้ายกับการ “ล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่” หรือ New Colonial โดยผ่านในรูปของการช่วยเหลือเงินกู้ แต่ได้รับประโยชน์จากการค้าและการลงทุนโดยเฉพาะสัมปทานในการขุดเจาะน้ำมันหรือสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นต้น ขณะเดียวกันนักลงทุนจีนเองก็ได้อานิสงค์จากการไปลงทุนในแอฟริกาเนื่องจากค่าแรงของแรงงานแอฟริกันนั้นยังถูกอยู่
ดูเหมือนว่าวิสัยทัศน์ของเหมา เจ๋อ ตุง และ โจว เอิน ไหล เมื่อห้าสิบกว่าปีที่แล้วจะมา “ผลิดอกออกผล” ในช่วงนี้นะครับ เพราะจะว่าไปแล้วจีนได้ประโยชน์จากทวีปแอฟริกามาก หากดู ๆ ไปแล้วอาจจะมากกว่าอดีตมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมจากยุโรปหรืออเมริกาเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้ Joshua Cooper Ramo อดีตบรรณาธิการของนิตยสาร TIME ได้เรียกการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในแอฟริกาไว้ว่าเป็น Beijing Consensus หรือ “ฉันทามติแห่งกรุงปักกิ่ง” ล้อกับ Washington Consensus ของ John Williamson ที่พูดถึงอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในการครอบงำการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโลกที่สามช่วงทศวรรษที่ 90
Joshua Cooper Ramo ได้อธิบายถึง Beijing Consensus ของเขาไว้ว่า จีนนั้นดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการทูตโดยเลือกที่จะไม่แทรกแซงทางการเมือง (Non-Interference) ของประเทศอื่น แต่มุ่งไปที่เรื่องของการค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีคำกล่าวว่า “ถ้าประเทศไหนในแอฟริกามีวัตถุดิบหรือทรัพยากรที่จีนต้องการแล้ว จีนจะเข้าไปทำธุรกิจผูกมิตรด้วยทันทีโดยไม่สนใจว่าประเทศเหล่านั้นจะมีประชาธิปไตยหรือไม่มี ประเทศเหล่านั้นจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือเปล่า”
Joshua Cooper Ramo และหนังสือ The Beijing Consensus
การจัดระเบียบโลกใหม่ภายใต้กรงเล็บพญามังกร
Beijing Consensus ข้อถัดมา คือ จีนจะเน้นเข้าไปลงทุนทางด้านการพัฒนาสาธารณูปโภค (Structural Development) ในประเทศต่าง ๆ ที่ผูกมิตรกับจีนโดยมีบริษัทข้ามชาติจากจีนจะเข้าไปก่อสร้างอาคารโรงพยาบาล เขื่อน สนามกีฬา รวมทั้งส่งแรงงานมีฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ไปช่วยพัฒนาประเทศด้อยพัฒนาเหล่านั้นซึ่งที่ผ่านมา Ramo ตั้งข้อสังเกตว่าชาติจากโลกตะวันตกค่อนข้างลังเลและไม่กล้าทำเช่นนี้ การสร้างมิตรภาพและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน (Friendship and Respect) เป็นแนวทางประการที่สามของ Beijing Consensus ที่นโยบายทางการทูตจีนเน้นไปที่การให้ความจริงใจแต่ต้องยอมรับในนโยบายจีนเดียวก่อน
Beijing Consensus ประการสุดท้าย คือ การเผยแพร่แนวคิด China model of development โดยจีนเชื่อว่าการพัฒนาประเทศได้ต้องมาจากการจัดหาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้พร้อมก่อน หลังจากนั้นจึงเริ่มที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจและจึงค่อย ๆ ปฏิรูปภาคประชาชนตามมา
Sino-African เป็นความสัมพันธ์ที่ยืนยันถึงอิทธิพลของจีนในโลกยุคใหม่ว่า พวกเขามีความพร้อมที่จะก้าวขึ้นไปเป็นมหาอำนาจตัวจริงแทนสหรัฐอเมริกาแล้วนะครับ ขณะเดียวกัน Beijing Consensus ก็นับเป็นเรื่องใหม่ที่พวกเราควรได้เรียนรู้ว่าทิศทางของโลกในวันข้างหน้านั้นมันจะเป็นยังไงภายใต้กรงเล็บพญามังกร
เอกสารและภาพประกอบการเขียน1. www.wikipedia.org
2. ส่วนเศรษฐกิจต่างประเทศ ฝ่ายวิชาการ EXIM BANK, “จีน-แอฟริกา อีกหนึ่งความสัมพันธ์ที่น่าจับตามอง”
3. The Beijing Consensus , Joshua Cooper Ramo
Autonomous Cooperation and Control in Logistics: Contributions and Limitations - Theoretical and Practical Perspectives
Title : Autonomous Cooperation and Control in Logistics : Contributions and Limitations - Theoretical and Practical Perspectives Author:Michael Hulsmann, Bernd Scholz-Reiter, Katja Windt Publisher:Springer ISBN : 3642194680 ISBN-13: 978-3642194689 Date 2011-06-09 Pages : 358 Language : English Format : PDF Size : 3.6 MB
Editorial Reviews
From the Back Cover
Many new technologies – like RFID, GPS, and sensor networks – that dominate innovative developments in logistics are based on the idea of autonomous cooperation and control. This self-organisational concept describes „...processes of decentralized decision-making in heterarchical structures. It presumes interacting elements in non-deterministic systems, which possess the capability and possibility to render decisions. The objective of autonomous cooperation and control is the achievement of increased robustness and positive emergence of the total system due to distributed and flexible coping with dynamics and complexity“ (Hülsmann & Windt, 2007). In order to underlie these technology-driven developments with a fundamental theoretical foundation this edited volume asks for contributions and limitations of applying the principles of autonomous cooperation and control to logistics processes and systems. It intends to identify, describe, and explain – in the context of production and distribution logistics – the effects on performance and robustness, the enablers and impediments for the feasibility, the essential cause-effect-relations, etc. of concepts, methods, technologies, and routines of autonomous cooperation and control in logistics. Therefore, the analyses collected in this edited volume aim to develop a framework for finding the optimal degree as well as the upper and lower boundaries of autonomous cooperation and control of logistics processes from the different perspectives of production technology, electronics and communication engineering, informatics and mathematics, as well as management sciences and economics.
About the Author
Michael Hülsmann studied Business Administration at the University of Bayreuth. Then he continued as a Research Assistant at the University of Bayreuth and at the University of Bremen. He earned a PhD degree on the topic „Management im Orientierungsdilemma – Notwendigkeit eines Managements rationalitätsbezogener Widersprüche von Effizienz und Nachhaltigkeit“ (Orientational Dilemma in Management - The Need for a Rationality Driven Contradiction Between Efficiency and Sustainability in Management) with „summa cum laude“ and received the 2nd award for studies of the Förderverein für Mittelstandsforschung e.V. (Association for Scientific Development of Small and Medium Enterprises). In his business career Prof. Hülsmann worked for notable companies. Between 2003 and 2009 Prof. Hülsmann was in charge of the „Management nachhaltiger Systementwicklung“ (Management of Sustainable Systems Development) field of studies in the Economics department of the University of Bremen. Since January 2004 he has been in charge of sub-project A3 „Monitoring der Selbststeuerung“ („Monitoring of Autonomous Control“) and a leading member of SFB 637 „Selbststeuerung logistischer Prozesse – ein Paradigmenwechsel und eine Grenzen“ (Autonomous Logistics Processes - a Change in Paradigm and Constraints) which is already in its second research level as the kernel of the scientific cluster „Dynamics in Logistics“. In 2007 Prof. Hülsmann was invited as a visiting researcher at the University of California, Los Angeles, USA. In March 2009 he took over the „System Management“ fi eld of studies at the School of Engineering and Science at Jacobs University Bremen. He focuses on Strategic Management of Logistics Systems. Prof. Hülsmann teaches and does research mainly in the fields of competence and technology based positioning, accomplishing of technological change in value-adding networks and setting-up of interorganizational coordination mechanisms. Bernd Scholz-Reiter was founder and head of the Fraunhofer Application Center for Logistics Systems Planning and Information Systems at Cottbus. Since November 2000 he is a full professor and chair holder of the chair of Planning and Control of Production Systems (PSPS) at the University of Bremen where he also serves as director of the Bremen Institute of Industrial Technology and Applied Work Science (BIBA). He was initiator and vice-speaker of the research group on Autonomous Control of Logistic Processes, speaker of the Bremen Research Cluster for Dynamics in Logistics as well as speaker of the International Graduate School for Dynamics in Logistics. Scholz-Reiter is an ordinary member of the Berlin-Brandenburg Academy of Sciences and Humanities, an ordinary member of acatech, the Council for Engineering Sciences at the Union of the German Academies of Sciences and Humanities; BESIDE OTHER NATIONAL MEMBERSHIIPS he is a member of CIRP, the International Institution for Production Engineering Research, a fellow of the European Academy of Industrial Management (AIM) and an Advisory Board member of the Schlesinger Laboratory at TECHNION - Israel Institute of Technology, Haifa, Israel, as well as a member of the Scientific Advisory Board of the German Logistics Association (BVL). Professor Scholz-Reiter serves as vice president of the German Research Foundation (Deutsche Forschungsgemeinschaft, DFG). He is editor of the professional journals Industrie-Management and PPS-Management and member of the editorial board of the scientific International Journal Production Planning & Control. He is author and co-author of more than 250 scientific publications. Katja Windt, born in 1969, studied mechanical engineering with a focus on production at the Leibniz University Hannover and at the Massachusetts Institute of Technology in the U.S.. After her doctorate at the Institute for Production Systems and Logistics (IFA) in Hanover in 2000, she moved to the University of Bremen. There, she worked as a department head at the Institute for Production and Logistics (BIBA) and is still active part in the special research project "Autonomous Cooperating Logistic Processes". In February 2008 she was appointed to a professorship for "Global Production Logistics" to the private Jacobs University Bremen.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)