จิรประภา ขจรบุญ
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
และ น.ศ. หลักสูตร MS. in Logistics and Supply Chain Management ม.ศรีปทุม
ปัจจุบันโลกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกลไปกว่าจะคาด เดาได้ วันนี้ หนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากคงหนีไม่พ้น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะสิ่งที่ได้กลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 เพิ่มเข้ามาในการดำรงชีวิตนั่นคือ โทรศัพท์มือถือ ที่ผู้ผลิตหลายค่ายต่างผลิตโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ออกมาแข่งขันกันเป็นจำนวน มาก ทำให้ผู้บริโภคเองมีหลายทางเลือกในการซื้อโทรศัพท์มือถือให้ตรงตามความต้อง การทั้งด้านคุณภาพ ฟังก์ชันการใช้งานและราคา แต่อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขึ้นย่อมต้องมีอายุการใช้งาน โทรศัพท์มือถือก็เช่นกันที่ย่อมมีการเสื่อมประสิทธิภาพไปตามอายุการใช้งาน หรือตามแต่ใจผู้บริโภคที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่เสมอ และมักจะซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่มาครอบครองแทนเครื่องเก่า
จึงเกิดคำถามขึ้นว่า ผู้บริโภคจัดการกับโทรศัพท์มือถือเครื่องเก่าอย่างไร? ซึ่งพบข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการเลิกใช้โทรศัพท์มือถือของโนเกียพบว่า ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกส่วนใหญ่มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันในการเก็บ โทรศัพท์มือถือเครื่องเก่าไว้หลังเลิกใช้งานโดยไม่คิดจะรีไซเคิลโทรศัพท์มือ ถือ ถึงร้อยละ 74 มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่นำมือถือเข้ากระบวนการรีไซเคิล (โนเกียแก๊ง, 2552) แต่มีอีกวิธีการหนึ่งที่คนไทยนิยมใช้เป็นอย่างมากและปฏิบัติมานานแล้ว คือการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนโดยการนำโทรศัพท์มือถือเครื่องเก่าที่ยังคงมี สภาพดีไปขายเป็นโทรศัพท์มือสอง เผื่อแผ่ให้กับผู้บริโภครายอื่นที่มีทุนทรัพย์ต่ำ อีกทั้งเพิ่มทุนในการซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ให้ตนเองได้อีกทางหนึ่ง ด้วย (ปรารถนา ฉายประเสริฐ, 2551)
อย่างไรก็ตามโทรศัพท์มือถือจะต้องเข้าสู่กระบวนการกำจัด ในที่สุด เมื่อโทรศัพท์มือถือกลายเป็นของเสียโดยผ่านกระบวนการจัดการของเสียที่มี ประสิทธิภาพ สาเหตุหลักในการจัดการของเสียนี้ เนื่องจากโทรศัพท์มือถือจัดเป็นของเสียทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wastes) ที่มีองค์ประกอบอันเป็นอันตรายและมีพิษ สามารถแพร่กระจายปนเปื้อนลงสู่ดิน แหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อมได้ หากไม่ได้รับการกำจัดอย่างเหมาะสม (Geraldo T.R.Silveira et al, 2010) มีการศึกษาผลกระทบขององค์ประกอบที่เป็นพิษของโทรศัพท์มือถือแล้วพบว่า โทรศัพท์มือถือประกอบด้วยธาตุมากกว่า 40 ธาตุ และมี 20 ธาตุที่เป็นธาตุจำพวกโลหะ (Metallic Element) ในจำนวนนี้มีถึง 12 ธาตุที่มีความเป็นพิษร้ายแรง และยังมีปริมาณถึงร้อยละ 35-40 โดยน้ำหนักของโทรศัพท์มือถือ (StEP, 2009; G.F.Protomastro, 2009; B.Y.Wu et al., 2008) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารตะกั่ว (Lead: Pb) ซึ่งใช้เป็นตัวเชื่อม (Solder) ในโทรศัพท์มือถือ
สารตะกั่วเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อมีปริมาณสารตะกั่วในเลือดที่ความเข้มข้นอย่างน้อย 2.5 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรจะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลต่อไต ทำให้ทำงานผิดปกติ (EPA, 2009a) ซึ่งกล่าวได้ว่าโทรศัพท์มือถือเป็นแหล่งของสารตะกั่วที่สำคัญแหล่งหนึ่งที เดียว นอกจากนี้แบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือประกอบด้วย Nickel-Cadmium: Ni-Cd หรือ Lithium-ion หรือ Nickel-metal Hydride ยังประกอบด้วยธาตุโลหะหนักที่เป็นพิษเช่น โคบอลต์ (Cobalt: Co) สังกะสี (Zinc: Zn) และทองแดง (Copper: Cu) ผู้ใช้หลายคนที่ไม่รู้วิธีกำจัด จึงนำไปทิ้งโดยการฝังกลบและเผาทิ้งถึงร้อยละ 73 ของประชากรสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะทำให้โลหะหนักจากแบตเตอรี่เหล่านี้มีการปลดปล่อยสู่ดิน น้ำใต้ดิน น้ำผิวดินและสิ่งแวดล้อมได้ (EPA, 2009b)
อีกประการหนึ่งคือกระบวนการรีไซเคิลสามารถ เปลี่ยนของเสียเหล่านี้ ให้กลายเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าสูงได้ โดยโทรศัพท์มือถือเครื่องหนึ่งสามารถกลับกลายเป็นวัตถุดิบได้ถึงร้อยละ 90 (Geraldo T.R. Silveira et al, 2010) ยกตัวอย่างโครงการรณรงค์การรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือใช้แล้วทั่วโลก Nokia Loves Earth ระบุว่าโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่องนำมาผ่านกระบวนการรีไซเคิล มีส่วนประกอบภายในตัวเครื่องที่สามารถรีไซเคิลได้ถึงร้อยละ 80 ประกอบด้วยวัสดุประเภทพลาสติกมากที่สุด ที่เหลือเป็นทองแดง เซรามิก อะลูมิเนียม ทองและวัสดุอื่นที่ไม่ใช่โลหะ ส่วนที่เป็นชิ้นส่วนพลาสติก โลหะ และเซรามิกนำมารีไซเคิลได้ทั้งหมด หากโทรศัพท์มือถือถูกนำไปรีไซเคิล 1 ล้านเครื่องจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 12,585 ตัน ซึ่งชิ้นส่วนวัสดุเหล่านี้จะถูกนำมาทำการแปรรูปเป็นส่วนประกอบของรถจักรยาน กาต้มน้ำ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องดนตรี เป็นต้น แม้กระทั่งแหวนที่ทำจากแพลตินัม (Platinum: Pt) ก็เป็นผลผลิตของการรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือเก่านั่นเอง นอกจากนี้ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 20 มีการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการรีไซเคิล หรือนำเศษชิ้นส่วนที่เหลือไปบดเป็นชิ้นส่วนของวัสดุก่อสร้าง หรือนำไปถมถนน
รูปที่ 1 โครงการ Nokia Loves Earth (ธัชสรัญ แก้วศรี, 2553)
ในฐานะที่ Nokia เป็นธุรกิจที่มีโครงการรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมใหญ่ที่สุดใน โลก Nokia จึงให้ผู้ใช้นำโทรศัพท์มือถือเก่ามาร่วมโครงการรีไซเคิลได้ใน 85 ประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศไทยตั้งกล่องรับรีไซเคิลที่ Nokia Shop และ Nokia Care ทุกสาขา ในร้าน Power Buy และห้าง Central ทุกสาขา เพียงนำโทรศัพท์มือถือเก่าและอุปกรณ์เสริมทุกยี่ห้อไปหย่อนลงกล่องตามจุดดัง กล่าว (อุณา ตัน, 2551) นอกจากนี้ค่ายมือถืออื่น ๆ ก็มีโครงการรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือเช่นกันได้แก่ Sony Ericsson มีโครงการ Take-back เชิญชวนให้นำโทรศัพท์มือถือเครื่องเก่า หรือ อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ใส่ลงในกล่องรีไซเคิลที่ศูนย์บริการ Sony Ericsson หรือที่ร้านค้าที่ได้รับการแต่งตั้ง
ค่าย Samsung มีโครงการ Samsung Green Planet โดยเปิดตัว Samsung Recycling Box ที่รองรับตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล รวมถึงอุปกรณ์ชิ้นส่วนดิจิตอลต่าง ๆ เพื่อนำไปรีไซเคิล ณ ร้าน Samsung Brand Shop และศูนย์บริการลูกค้า Samsung ทั่วประเทศ ค่าย Motorola เองก็สามารถนำไปรีไซเคิลได้ โดยมีที่ตั้งในกรุงเทพฯ 3 จุดได้แก่ สำนักงานใหญ่ ชั้น 22 ตึก Two Pacific หรือ Motorola Shop ที่ชั้น 1 Seacon Square สำหรับต่างจังหวัดที่ Motorola Service Center (Akanek, 2550) นอกจากนี้ค่าย Apple ก็มีโครงการ i-Pod and Mobile Phone Recycling สามารถส่งไป Recycle ผ่านทางไปรษณีย์หรือร้านตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Apple ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ผู้ใช้ที่นำผลิตภัณฑ์มารีไซเคิลจะได้รับส่วนลดในการซื้อผลิตภัณฑ์ ใหม่ถึงร้อยละ 10 (Geraldo T.R. Silveira et al, 2010)
รูปที่ 2 กระบวนการรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือ (สุภาภรณ์ นิลยกานนท์, 2552)
จะเห็นได้ว่าผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการจัดการของเสีย อันตรายจากโทรศัพท์มือถือแท้จริงแล้วคือผู้ผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ นั่นเอง ซึ่งนโยบายในการจัดการของเสียของผู้ผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือจัดเป็น หลักการสำคัญในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอย่างหนึ่ง ที่มีประสิทธิผลในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ตลอดวงจร ผลิตภัณฑ์ขององค์กรหรือเรียกว่า Green Logistics and Supply Chain Management (GLSCM) (นิลวรรณ ชุ่มฤทธิ์ และทศพล เกียรติเจริญผล, 2551) หลักการที่เกี่ยวข้องในการจัดการของเสียนั้นจะอยู่ในกิจกรรมโลจิสติกส์ย้อน กลับ (Reverse Logistics) ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจในทุกอุตสาหกรรมการผลิต
โดยไชยยศและมยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง (2550) ให้รายละเอียดว่า เป็นปฏิบัติการส่งคืนสินค้าและการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยมีความสำคัญทั้งด้านการบริการลูกค้าและด้านสิ่งแวดล้อม สินค้าส่งคืนบริษัทอาจเกิดจากสินค้ามีความบกพร่อง หมดอายุ ส่งผิด แลกเปลี่ยน (Trade-ins) ส่งซ่อมตามระยะเวลาการประกันคุณภาพ ส่งคืนเพื่อเปลี่ยนใหม่หรือนำมาแปรสภาพใหม่ (Recycle) นอกจากนี้ยังรวมถึงการกำจัดผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุขัยหรือหมดสภาพใช้งานหรือ วัสดุเหลือใช้จากการผลิต การจำหน่ายหรือบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว
นอกจากนี้ The Council of Logistics Management ได้นิยาม Reverse Logistics ว่าเป็นกระบวนการวางแผน ปฏิบัติการ ควบคุมต้นทุนในการไหลของวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต ผลิตภัณฑ์ และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในมุมตั้งแต่ผู้บริโภคกลับมายังจุดเริ่มต้นการผลิต เพื่อใช้ประโยชน์ในมูลค่าสินค้าที่ยังมีอยู่หรือเพื่อทำลายทิ้งอย่างเหมาะสม หรือหากกล่าวอย่างเจาะจง Reverse Logistics ก็คือกระบวนการเคลื่อนของสินค้าจากจุดหมายปลายทางในทิศทางย้อนกลับเพื่อใช้ ประโยชน์ในมูลค่าสินค้าที่ยังมีอยู่หรือเพื่อทำลายทิ้งอย่างเหมาะสมนั่นเอง (Dale S. Rogers and Ronald S.Tibben-Lembke, 1998) ซึ่งพบได้ในองค์ประกอบของโซ่อุปทานในแต่ละองค์กรที่ต้องประกอบไปด้วย โลจิสติกส์ไปข้างหน้า (Forward Logistics) และโลจิสติกส์แบบย้อนกลับ (Reverse Logistics) ได้ดังแสดงในรูปที่ 3
รูปที่ 3 กระบวนการโลจิสติกส์ไปข้างหน้าและย้อนกลับ (Yi Mei Zhang et al., 2011)
โลจิสติกส์ย้อนกลับถือเป็น 1 ใน 6 วัตถุประสงค์โลจิสติกส์เชิงปฏิบัติการของสถานประกอบการที่ต้องบรรลุเพื่อวัด การปฏิบัติงานโลจิสติกส์ (Operating Logistics) ให้สำเร็จในเรื่องการตอบสนองที่รวดเร็ว (Rapid Response) มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด (Minimum Variance) มีสินค้าคงคลังน้อยที่สุด (Minimum Inventory) มีการรวบสินค้าเป็นหน่วยใหญ่เพื่อเคลื่อนย้าย (Movement Consolidation) มีคุณภาพ (Quality) และสนับสนุนโลจิสติกส์ย้อนกลับและวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Reverse Logistics and Product Life Cycle Support)
โดยวัตถุประสงค์ข้อนี้มุ่งเน้นให้องค์กรมีข้อผูกพันและความรับผิดชอบต่อ ผลิตภัณฑ์ เช่น การรับประกันสินค้า เมื่อสินค้าบกพร่องหรือเสียหายระหว่างช่วงอายุการประกันก็จะต้องนำกลับมา ซ่อมแซม การเรียกสินค้ากลับคืนอันเนื่องจากสินค้ามีข้อบกพร่อง สินค้าหมดอายุ ขยะและบรรจุภัณฑ์ การจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับจะต้องออกแบบให้มีต้นทุนต่ำ สินค้ามูลค่าสูงเช่นเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ต้องการการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเพื่อให้มีอายุการ ใช้งานยาว การบำรุงรักษาจะต้องมีอะไหล่และบริการสนับสนุน บริการสนับสนุนหลังการขายเป็นหน้าที่ของฝ่ายโลจิสติกส์ในการนำสินค้ากลับมา ซ่อมแซม สต็อกอะไหล่อย่างเพียงพอและให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้ บริการหลังการขายทำให้สินค้ามีอายุการใช้งานยาวนานซึ่งเป็นการสนับสนุนวงจร ชีวิตผลิตภัณฑ์ (ไชยยศและมยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง, 2550) ตลอดจนหน้าที่ในการกำจัดของเสียเมื่อหมดอายุการใช้งานด้วย
โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์จัดเป็นของเสียที่เป็นของแข็ง (Solid Wastes) ที่มีการจัดการของเสียที่จำเพาะเจาะจง ดังนั้นหากกล่าวถึงโลจิสติกส์ย้อนกลับสำหรับการกำจัดของเสียที่เป็นของแข็ง อาจกล่าวได้ว่าประกอบด้วยการวางแผนการขนส่ง (Transportation) และคลังสินค้า (Inventor) ในการรวบรวมของเสีย (Waste Collection) การจัดส่ง (Delivery) และการกำจัด (Disposal) ซึ่งประกอบด้วยองค์กรที่เกี่ยวข้อง 3 ระดับ (Yi Mei Zhang et al, 2011) ดังรูปที่ 4 ได้แก่
รูปที่ 4 โซ่อุปทานของกระบวนการจัดการของเสียที่เป็นของแข็ง (Solid Waste Management)
(Yi Mei Zhang et al, 2011)
1) หน่วยรวบรวมของเสีย (Solid Waste Collection Stations) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการรับและรวบรวมของเสียทั้งหมดที่มีการผลิต คัดแยก และจัดส่งของเสียที่สามารถรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไปสู่ผู้ผลิตใหม่ (Remanufacturer)
2) ศูนย์กลางกระจายของเสีย (Waste Distribution Centers) ซึ่งจะทำการจัดเก็บและส่งต่อของเสียหน่วยรวบรวมของเสียไปยังหน่วยกำจัดต่อไป
3) หน่วยกำจัดและบำบัดของเสีย (Waste Disposal/Treatment Facilities) ตัวอย่างเช่น นำไปถมที่ เผาทิ้ง หรือเป็นปุ๋ยให้กับพืช
ยกตัวอย่างการจัดการของเสียโทรศัพท์มือถือในสหรัฐอเมริกาซึ่งนำเสนอโครงการ รีไซเคิลของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ ดังรูปที่ 5 จากแผนภาพดังกล่าวยืนยันได้ว่าองค์กรผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือวางกระบวนการจัด การโลจิสติกส์ย้อนกลับขององค์กรออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนที่ 1 หน่วยรวบรวมของเสีย (Solid Waste Collection Stations) ได้แก่ Collection point Partner store และ Manufacturer Store ดังเช่นปรากฏในประเทศไทยที่มีกล่องรับโทรศัพท์มือถือสำหรับรีไซเคิลที่ร้าน ตัวแทนจำหน่ายต่าง ๆ ส่วนที่ 2 ศูนย์กลางกระจายของเสีย (Waste Distribution Centers) ซึ่งก็คือตัวแทนแต่ละค่ายโทรศัพท์มือถือในแต่ละประเทศ และส่วนที่ 3 หน่วยกำจัดและบำบัดของเสีย (Waste Disposal/Treatment Facilities) ได้แก่ บริษัทรับ Recycle ของเสียเพื่อแยกชิ้นส่วน ผลิตซ้ำใหม่ นำมาปรับปรุงและขายซ้ำ หรือนำไปบริจาค
รูปที่ 5 การรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือในสหรัฐอเมริกา
(Geraldo T.R.Silveira et al, 2010)
ตัวอย่างโลจิสติกส์ย้อนกลับอื่น ๆ ที่พบเห็นได้ในปัจจุบันโดยเฉพาะการเรียกคืนสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่นในกรณีแบตเตอรี่โทรศัพท์ยี่ห้อ Nokia รุ่น BL-5C ที่มีการตรวจสอบพบว่ามีสินค้าล็อตที่ไม่ได้มาตรฐานหลุดออกมาจำหน่าย ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยทางศูนย์ Nokia ได้เซ็ตระบบทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ลูกค้าได้เข้าไปตรวจสอบหมายเลขแบตเตอรี่ของตนว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือไม่ และสามารถเอากลับไปเปลี่ยนคืนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ จากกรณีก็จะเห็นได้ว่าทาง Nokia ได้วางแนวทางแก้ไขเมื่อประสบปัญหาสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ก็สามารถจัดการในเรื่องโลจิสติกส์ย้อนกลับให้ลูกค้าเกิดความสะดวกสบายในการ ใช้บริการ ซึ่งจะช่วยรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้าให้คงอยู่ได้ (Logistics Thai Club, 2550)
หรือตัวอย่าง บริษัท โฮย่ากลาสดิสต์ ซึ่งผลิต Substrate (แผ่นแก้ว) เพื่อนำไปเคลือบ Media อันเป็นส่วนประกอบหนึ่งใน Hard Disk โดยสินค้าจะมีข้อกำหนดคุณสมบัติที่ค่อนข้างละเอียด ทั้งในเรื่องขนาด ลักษณะของผิวแก้ว และความสะอาด บ่อยครั้งที่บริษัทจะได้รับคืนสินค้ากลับจากลูกค้าอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น ผลการตรวจสอบ Incoming แล้วพบข้อบกพร่อง ลูกค้าจะทำการส่งกลับสินค้าล็อตนั้นทั้งหมดกลับมาเปลี่ยน หรือเมื่อลูกค้านำสินค้าที่ได้เข้าสู่กระบวนการผลิตของตนแล้วเกิดปัญหา หรือส่งผลให้คุณภาพผลิตภัณฑ์สุดท้ายมีความแปรปรวนสูง ซึ่งลูกค้าเชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากวัตถุดิบที่นำมาประกอบเป็น Substrate ดังนั้นลูกค้าจะส่งตัวอย่างในล็อตนั้นกลับมาให้วิเคราะห์หาสาเหตุร่วมกัน หรืออีกกรณีที่ทางบริษัทได้ตรวจพบปัญหาคุณภาพหลังจากได้ทำการ Shipping สินค้าไปแล้ว ทางบริษัทจะเข้าไปชี้แจงเพื่อขอเรียกคืนสินค้าล็อตนั้น ๆ แล้วทำการจัดส่งสินค้าล็อตใหม่ให้ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการจัดการทางด้าน Reverse Logistics ทั้งสิ้น โดยในหลาย ๆ ครั้งที่ทางบริษัทไม่สามารถหาเหตุผลที่รับฟังได้ให้กับลูกค้า ก็จะส่งผลในการลดความเชื่อมั่นในตัวสินค้าได้ (Logistics Thai Club, 2553)
ในการผลิตสินค้ารายการหนึ่ง ๆ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการหลุดรอดสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพไปยังมือลูกค้ามี อยู่เสมอ การจัดการ Reverse Logistics ที่ดีจะช่วยในเรื่องความเชื่อมั่นของลูกค้าได้ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการออกแบบและควบคุมการผลิตที่ดีขึ้น ช่วยลดการซ่อมแซมที่ไม่เกิดมูลค่าและเพิ่มความเคร่งครัดในการตรวจสอบเพื่อ จัดส่งสินค้าที่ไม่พบข้อบกพร่องกลับออกสู่ตลาด แต่อย่างไรก็ตามการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับมักจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าใช้ จ่ายการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า การเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้บริโภคคืนบริษัทมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าจากบริษัทไป ยังผู้บริโภค ทั้งนี้เพราะสินค้าอยู่กระจัดกระจายห่างไกลกัน มีจำนวนน้อย การเก็บรักษา เคลื่อนย้ายและขนส่งยุ่งยาก ทำให้ค่าใช้จ่ายการขนส่งต่อหน่วยสูง กิจกรรมโลจิสติกส์ย้อนกลับจึงยังขาดระบบที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่าการรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือนั้นถือเป็นวิธีการกำจัด ขยะทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าสนใจและกำลังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมาก ในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเป็นนโยบายหลักในการบริหารโลจิสติกส์และโซ่อุปทานขององค์กรที่ เรียกว่า โลจิสติกส์ย้อนกลับ ที่เป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือผ่าน 3 หน่วยงานหลักคือหน่วยรวบรวมของเสีย ศูนย์กระจายของเสีย และหน่วยกำจัดและบำบัดของเสียแล้ว ยังเป็นการสร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภคและผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีการ เก็บโทรศัพท์มือถือไว้ไม่ได้นำไปขายหรือทำประโยชน์ใดต่อ ให้นำมารีไซเคิลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมผ่านทางช่องทาง หน่วยรวบรวมของเสียไม่ว่าจะเป็นกล่องรับรีไซเคิล ตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์มือถือต่าง ๆ หรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์คืนไปยังบริษัทผู้ผลิตก็สามารถทำได้เช่นกัน นอกจากนี้การบริจาคโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วให้กับประเทศโลก ที่สามที่ประชากรส่วนใหญ่ยากจนก็เป็นอีกทางหนึ่งในการรีไซเคิลโทรศัพท์มือ ถือด้วย นอกจากนี้โลจิสติกส์ย้อนกลับยังรวมถึงการจัดการเรียกคืนสินค้าที่ไม่ได้ มาตรฐานคืนซึ่งองค์กรจะต้องกำหนดเป็นมาตรการในการดำเนินการเพื่อแก้ไขและ จัดการกับของเสียที่เกิดขึ้นเพื่อให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุด
นอกจากนี้หากจะทำให้การดำเนินการด้านโลจิสติกส์ย้อนกลับของการรีไซ เคิลโทรศัพท์มือถือประสบความสำเร็จมากที่สุด รัฐบาลเองควรเข้ามามีบทบาทในการออกระเบียบหรือกฎหมายบังคับใช้ (Enforcement) โดยระบุความรับผิดชอบให้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นผู้สร้าง ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกำจัด ครอบคลุมถึงประชาชนทุกคนต้องดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้การกำจัดของเสีย อิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้เป็นไปอย่างถูกต้องและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยอาจกำหนดช่วงอายุการใช้งานของโทรศัพท์มือถือ (Shelf Life) สูงสุดสำหรับการกำจัด อนึ่งปัจจุบันผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือแต่ละค่ายล้วนแต่มีนโยบายสนับสนุนการรี ไซเคิลโทรศัพท์มือถืออย่างเป็นรูปธรรม ขาดเพียงการสนับสนุนจากภาครัฐและประชาชนในการสนองนโยบายนี้ อีกทั้งภาครัฐควรกระตุ้นให้การศึกษาแก่ประชาชน มุ่งปลูกฝังให้เยาวชนรู้จักวิธีการกำจัดโทรศัพท์มือถือด้วยการรีไซเคิลแทน การเก็บไว้หรือทำลายด้วยตัวเองอย่างไม่ถูกวิธีดังได้กล่าวมาแล้ว
อย่างไรก็ตามโทรศัพท์มือถือจะมีอายุการใช้งาน มากหรือน้อยและทำให้ต้องเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างรวดเร็วหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้บริโภคแต่ละคนและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์มือถือ ดังนั้นจึงอยากขอเสนอแนะเคล็ดลับง่าย ๆ ในการประหยัดพลังงานของโทรศัพท์มือถือเพื่อให้คงอายุการใช้งานของโทรศัพท์ ได้ยาวนานได้แก่ ถอดสายชาร์จแบตเตอรี่ออกเมื่อเต็มแล้ว ลดความสว่างหน้าจอลง ตั้งค่าสแตนด์บายไว้ให้ต่ำที่สุด ปิดเสียงที่ไม่ต้องการใช้ เช่น ปุ่มกด ปิดฟังก์ชันบลูทูธไวร์เลสเมื่อไม่ได้ใช้งาน แต่ถ้าโทรศัพท์มือถือพังเกินจะเยียวยาหรือไม่ต้องการจะเยียวยาเพราะมีใจให้ ของใหม่ก็ควรจะนำมารีไซเคิลแทนการเก็บรักษาไว้ไม่ได้ใช้งาน
เอกสารอ้างอิง
o ไชยยศ ไชยมั่นคง และมยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง. 2550. กลยุทธ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อแข่งขันในตลาดโลก. นนทบุรี: ซี.วาย.ซิซเทิม พริ้นติ้ง จำกัด.
o ธัชสรัญ แก้วศรี. 2553. ค้นหาทูตโนเกีย รณรงค์การรีไซเคิลมือถือ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://news. siamphone.com/news-01716/html.htm
o นิลวรรณ ชุ่มฤทธิ์ และทศพล เกียรติเจริญผล. 2551. การจัดการ Green Supply Chain และ Reverse Logistics ของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารประกอบการนำเสนอออนไลน์).
o เข้าถึงได้จาก: http://www.thaieei.com/eeidownload/newiuceo_forum3/255104/green-supply-chain-revers-logistics.pdf
o โนเกียแก๊ง. 2552. We recycle บริการ recycle มือถือจากโนเกีย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.nokiagang.com/forums/we-recycle-t5699.html
o ปรารถนา ฉายประเสริฐ. 2551. มือถือเก่าเบื่อแล้วอย่างทิ้ง (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://sawangpattaya.org/sawangschool/index.php?topic=405.0
o สุภาภรณ์ นิลยกานนท์. 2552. บุกโรงงานรีไซเคิลมือถือ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.kroobannok.com/blog12873.htm
o อุณา ตัน. 2551. โครงการ Nokia loves Earth รณรงค์การรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือใช้แล้วทั่วโลก (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://sawangpattaya.org/sawangschool/index.php?topic=405.0
o Akanek. 2007. Recycle มือถือของคุณ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.community.akanek.com/B. Y. Wu, Y.C. Chan, A. Middendorf, X.Gu and H.W.Zhong. 2008. Assessment of toxicity potential of metallic elements in discarded electronics: a case study of mobile phone in China. Journal of Environmental Sciences 20, pp. 1403-1408.
o Dale S. Rogers and Ronald S.Tibben-Lembke. 1998. Going backwards: Reverse Logistics Trends and Practices. Reno, Nevada: Reverse Logistics Executive Council.
o Environmental Protection Agency (EPA). 2009a. Concentrations of Lead in Blood. Available at: http://yosemite.epa.gov/OCHP/OCHPWEb.nsf/content/bloodlead.concentrations.htm
o Environmental Protection Agency (EPA). 2009b. Batteries. Available at: http://www.epa.gov/osw/Conserve/materialsbattery.htm
o Gerald T.R. Silveira, Shoou-Yuh Chang. 2010. Cell phone recycling experiences in the United States and potential recycling options in Brazil. Waste Management 30, pp. 2278-2291.
o G.F. Protomastro. 2009. Management of Electronic Scrap in Argentina. Third BOKU Waste Conference 2009. Available at: http://waste-conference.boku.ac.th/start/php.
o Logistics Thai Club. 2010. Reverse Logistics. Available at: http://www.logisticsthaiclub.com/index.php?mo=3&art =443050
o StEP – Solving the E-Waste Problem. 2009. Available at: http://www.step-initiative.org/initiative/what-is-e-Waste.php
o Yi Mei Zhang, Guo He Huang and Li He. 2011. An inexact reverse logistics model for municipal solid waste management systems. Journal of Environmental Management 92, pp. 522-530.
Source : http://www.thailandindustry.com/guru/view.php?id=14569§ion=9&rcount=Y