วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

First Super Bus Received in Dubai













7 ขั้นตอนในการจัดการสินค้าย้อนกลับในยามน้ำท่วม


      อุทกภัยครั้งนี้ถือได้ว่าร้ายแรงมาก เพราะน้ำท่วมเส้นทางการคมนาคมสำคัญๆ ทั้งของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท จนไม่สามารถ สัญจรไปได้นับ 300 เส้นทาง แน่ นอนว่า ภาคการขนส่งลอจิสติกส์ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ เช่นกัน เนื่องจากไม่สามารถขนส่งสินค้าไปส่งให้ลูกค้าได้ตามกำหนด และไม่สามารถกระจายสินค้าสู่มือประชาชนได้ ท้ายที่สุดสินค้าเหล่านั้นก็ย้อนกลับ หรือถูกขนกลับมายังต้นทาง


เป็นที่ทราบดีว่า การจัดการลอจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มขีดความbสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจทั้งทางด้านการลดต้นทุน การเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองลูกค้า ตลอดจนการนำเสนอความหลากหลายและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ของลูกค้าที่แตกต่างกัน
ปัจจุบันผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นเฉพาะ การเสริมสร้างประสิทธิภาพของกิจกรรมลอจิสติกส์ในทิศทางจากต้นทางไปยังปลายทาง เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ของลูกค้าเป็นหลัก ดังนั้น โครงสร้างของระบบลอจิสติกส์จึงมีทิศทางการไหลของสินค้าจากผู้จัดหาวัตถุดิบ ไปยังโรงงาน ผู้กระจายสินค้า ร้านค้าปลีก ไปจนถึงมือผู้บริโภคเป็นรายสุดท้าย
ขณะที่เทคนิคการจัดการลอจิสติกส์ ส่วนใหญ่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้าไปในทิศทางข้างหน้า (Forward Logistics) น้อยคนนักที่จะรู้จักคำว่า “Reverse Logistics” หรือ ลอจิสติกส์ย้อนกลับว่าคืออะไร? และมีบทบาทอย่างไร? ต่อการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน
ความหมายของคำว่า ลอจิสติกส์ย้อนกลับคือ กระบวนการจัดการสินค้าย้อนกลับจากลูกค้ามายังผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียกกลับสินค้าคืน สินค้าเสียหาย สินค้าไม่ได้มาตรฐาน หรือสินค้า หมดอายุใช้งาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวน การวางแผนปฏิบัติ และควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลข่าวสารจากปลายทาง ซึ่งได้แก่ ผู้บริโภค ย้อนกลับไปยังแหล่งผลิตต้นทางอย่างมีประสิทธิ ภาพและประสิทธิผล 
โดยกระบวนการจัดการลอจิสติกส์ย้อนกลับเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับรายการสินค้ามากกว่าการขนส่งขาไป แต่ถ้ามีความรอบคอบแล้วจะพบว่าการบริหารการขนส่งสินค้าย้อนกลับจะช่วยลดต้นทุน รักษาผลประโยชน์ให้องค์กร และปรับปรุงการบริการลูกค้าได้ 
ทีมข่าว สยามธุรกิจอยากนำเสนอขั้นตอนการบริหารการจัดการลอจิสติกส์ย้อนกลับ เชื่อว่าอาจจะช่วยปรับปรุงเรื่องการปฏิบัติงานสินค้าย้อนกลับได้ในยามที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่นี้ 
โดยการนำเสนอบทความของ “Paul Rupnow” กรรมการบริษัท Reverse Logistics Solutions ได้บอกวิธีการจัดการสินค้าย้อนกลับ ดังนี้
1.จัดศูนย์กลางการปฏิบัติงานย้อนกลับ พนักงานจำนวนมากและแผนก หลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสินค้า เที่ยวกลับ มักจะไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน ดังนั้น จึงควรมีศูนย์กลางปฏิบัติงานโดยตรงกับสินค้า รวมทั้งการจัดระเบียบรูปแบบ บุคลากร และกระบวน การเพื่อการดำเนินงานเป็นไปได้โดยสะดวก
2.แต่งตั้งผู้นำ การขนส่งสินค้าย้อนกลับ มักเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้จัดการแผนก เช่น แผนกบริการลูกค้า การ บริการแวร์เฮาส์ การซ่อมบำรุง และการเงิน เมื่อมีสินค้าคืนจำนวนน้อย ทำให้แผนกที่เกี่ยวข้องรู้สึกเสียเวลาในการจัดการ เพราะว่าสินค้ากลับคืนเป็นปัญหาของคนอื่นไม่ใช่ปัญหาหรือความผิดของตนเอง ส่วนมากจึงเก็บงานนี้ไว้ทำทีหลัง การแต่งตั้งผู้นำอาวุโสที่มีอำนาจตรวจสอบและบริหารงานทั้งหมดรวมถึงงบประมาณ จะช่วยให้มีการเปลี่ยน แปลงและบริหารงานสินค้าเที่ยวกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.จัดกระบวนการธุรกิจใหม่ ในการขนส่งสินค้าย้อนกลับส่วนมากแล้วจะใช้เวลานาน ความยุ่งยากทำให้เพิ่มระยะเวลาการนำสินค้ากลับให้มากขึ้นอีก การนำสินค้ากลับมีวิธีซับซ้อน และมีการจัดการสินค้าหลายขั้นตอน ระบบ ERP อาจไม่สามารถช่วยเรื่องการขนส่งสินค้ากลับได้ โดยเฉพาะสินค้าจำนวนมาก กระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพจะทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้รวดเร็วและแก้ไขปัญหาสินค้าคืนของลูกค้าได้ และยังช่วยทำให้บริษัทมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการขนส่งสินค้าเที่ยวกลับ
4.เชื่อมโยงกระบวนการขนส่งเที่ยวกลับ ความยุ่งยากมักจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการส่งมอบงานระหว่างกลุ่ม ทำให้เกิดปัญหาการจัดการข้อมูลและสินค้า สำหรับปัญหาภายในเกิดจากพนักงานหาข้อมูลในระบบที่ซ้ำซ้อนและเจรจาต่อรองกับผู้รับงานภายนอก ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการจัดการที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกลุ่มได้อัตโนมัติและสั่งการเพียงครั้งเดียว เพื่อส่งต่อสินค้าและข้อมูลที่เกี่ยว ข้อง การเชื่อมโยงจะช่วยลดปัญหาหรือข้อผิดพลาด และยังลดการเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่ม
5.รวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง การเก็บข้อมูลที่ไม่ได้ประสิทธิภาพสำหรับสินค้าส่งคืนรวมถึงช่องว่างการสื่อสารและความผิดพลาดทำให้สิ้นเปลืองและการปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง การเก็บข้อมูลอย่างละเอียด และรอบคอบในขั้นตอนการส่งคืนสินค้ารวมถึงการตรวจสอบสินค้าเหมือนเป็นงานที่เพิ่มขึ้น แต่จะเห็นผลในเรื่องการลดต้นทุนการขนส่งในอนาคต
6.ใช้การตรวจสอบแบบ real-time การตรวจสอบสถานภาพสินค้าในกระบวนการต่างๆ เป็นเรื่องยากและเสียเวลา การใช้ระบบตรวจสอบแบบ real-time จะช่วยเรื่องการรับรู้สถานภาพสินค้าตลอดกระบวนการ ทุกคนที่เกี่ยว ข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการลอจิสติกส์ (3PL) หรือลูกค้าทั้งหมด สามารถเห็นหนทางแก้ไขปัญหาโดยทันที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินไปติดต่องาน ส่งอีเมล หรือโทรศัพท์ติดต่องาน
7.ป้องกันก่อนเกิดปัญหา การทำงานที่สร้างความตึงเครียดคือปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยทันที ดังนั้น จึงควรมีการเตรียมตัวรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้น และจัดทำเป็นแผนงานเร่งด่วนเพื่อให้สามารถทำงานเพียงครั้งเดียวและแก้ไขได้โดยอัตโนมัติ สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความตึงเครียดและช่วยปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นซ้ำอีกจึงสามารถแก้ไขได้โดยอัตโนมัติ 
หวังว่าขั้นตอนการจัดการสินค้าย้อนกลับทั้ง 7 ข้อดังกล่าวจะให้ประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ หรือประชาชนในการบริหารจัดการสินค้าของท่าน เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤติน้ำท่วมในครั้งนี้ และในโอกาสอื่นๆ เพื่อให้ธุรกิจของท่านมีประสิทธิภาพ รุ่งเรือง ซึ่งเป็นจิ๊กซอว์หนึ่งของระบบเศรษฐกิจประเทศที่เข้มแข็งต่อไป

โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)


หลักการนี้เป็นการนำบรรจุภัณฑ์สินค้าที่ลูกค้าคืน สินค้าตกรุ่น สินค้าชำรุดมีตำหนิ หรือวัสดุเหลือหลังจากการอุปโภคบริโภคมาสร้างมูลค่าใหม่
เป็นที่ทราบว่าการจัดการโลจิสติกส์ ที่มีประสิทธิภาพสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจทั้งทางด้านการลดต้นทุน การเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองลูกค้า ตลอดจนการนำเสนอความหลากหลายและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ของลูกค้าที่แตกต่างกัน
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นเฉพาะการเสริมสร้างประสิทธิภาพของกิจกรรม โลจิสติกส์ในทิศทางจากต้นน้ำไปยังปลายน้ำเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ของลูกค้า เป็นหลัก ดังนั้น โครงสร้างของระบบโลจิสติกส์จึงมีทิศทางการไหลของสินค้าจากผู้จัดหาวัตถุดิบ ไปยังโรงงาน ผู้กระจายสินค้า ร้านค้าปลีก ไปจนถึงมือผู้บริโภคสุดท้าย
ขณะที่เทคนิคการจัดการโลจิสติกส์ส่วนใหญ่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาสำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้าไปในทิศทางข้างหน้า (Forward Logistics) น้อยคนนักที่จะรู้จักคำว่า Reverse Logistics หรือ โลจิสติกส์ย้อนกลับ ว่าคืออะไรและมีบทบาทอย่างไรต่อการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน
โลจิสติกส์ย้อนกลับเกี่ยวข้องกับกระบวนการวางแผน ปฏิบัติ และควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลข่าวสาร จากปลายทางซึ่งได้แก่ผู้บริโภค ย้อนกลับไปยังแหล่งผลิตต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
กิจกรรมของโลจิสติกส์ย้อนกลับจะคล้ายกับกิจกรรมที่มีในระบบโลจิสติกส์ปกติ เช่น การขนส่ง การพยากรณ์อุปสงค์ การบริหารสินค้าคงคลัง และการจัดการคลังสินค้า เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้ว การทำโลจิสติกส์ย้อนกลับมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำบรรจุภัณฑ์สินค้าที่ลูกค้าคืน สินค้าตกรุ่น สินค้าชำรุด/มีตำหนิ หรือวัสดุเหลือหลังจากการอุปโภค/บริโภคมาสร้างมูลค่าใหม่ (Recapturing value) โดยการนำมาใช้ซ้ำ (Reuse) จำหน่ายใหม่ (Resell) ซ่อมแซม (Repair) ทำการผลิตซ้ำ (Remanufacture) ไปจนถึงการนำมาแปรสภาพเป็นวัตถุดิบ (Recycle) เพื่อใช้หมุนเวียนต่อไป
ลองนึกถึงภาพการนำขวดน้ำอัดลมที่ใช้แล้วขนส่งกลับไปยังบริษัทผู้ผลิตเพื่อทำ การบรรจุใหม่ ซึ่งในกรณีนี้ การทำโลจิสติกส์ย้อนกลับจะมีวัตถุประสงค์ในการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่เพื่อ เป็นการประหยัดต้นทุน ดังนั้น หากบริษัทมีระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับที่ไม่มีประสิทธิภาพก็จะทำให้เกิดต้นทุน โลจิสติกส์สูงเกินไปจนอาจจะไม่คุ้มค่าต่อการนำสินค้านั้นกลับคืนมา
ส่วน ใหญ่แล้ว คนทั่วไปมักไม่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของการทำโลจิสติกส์ย้อนกลับ เนื่องจากคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความพึงพอใจของ ลูกค้า ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ธุรกิจค้าปลีกเป็นตัวอย่างของธุรกิจที่ต้องเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ย้อนกลับ มาก การรับคืนสินค้าที่มีตำหนิหรือสินค้าที่ลูกค้าไม่พึงพอใจในคุณสมบัติได้กลาย เป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง
ทั้งนี้ ลูกค้าส่วนใหญ่จะพิจารณาเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีนโยบายในการรับคืนสินค้า หากมีราคาที่ไม่แตกต่างกันมากนัก นอกจากนี้ ธุรกิจค้าปลีกยังต้องอาศัยการทำโลจิสติกส์ย้อนกลับกับสินค้าที่ตกรุ่นหรือสต็อกไว้มากจนเกินไป เพื่อนำสินค้าเหล่านั้นไปจำหน่ายยังแหล่งที่ยังมีความต้องการอยู่ หรือส่งคืนกลับไปให้กับผู้ผลิต
นอก เหนือจากการนำกลับมาสร้างมูลค่าใหม่เพื่อการประหยัดต้นทุน อีกวัตถุประสงค์หนึ่งของการทำโลจิสติกส์ย้อนกลับคือการนำสินค้ากลับมาทำลาย อย่างถูกวิธี เช่น สินค้าอันตรายและสินค้าที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายบังคับให้บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่อง ใช้ไฟฟ้าต้องทำโลจิสติกส์ย้อนกลับสำหรับผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว
ประโยชน์แฝงที่ได้จากการทำโลจิสติกส์ย้อนกลับคือ การสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กรทางด้านการเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับการทำ Corporate Social Responsibility (CSR) ที่กำลังเป็นที่นิยมกัน โดยต่อไป ประเด็นทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ลูกค้าใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น รวมถึงส่งผลต่อการกีดกันทางการค้าสำหรับคู่ค้าบางประเทศอีกด้วย
จะเห็นได้ว่า โลจิสติกส์ย้อนกลับได้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสภาพธุรกิจที่ต้องแข่งขันกันทั้งทางด้านต้นทุนและการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า รวมถึงกระแสของการตื่นตัวในปัญหาโลกร้อน
เราคงต้องกลับมาดูแล้วล่ะครับว่าในองค์กรของเรามีความจำเป็นที่ต้องไปเกี่ยวข้องกับการทำโลจิสติกส์ย้อนกลับมากน้อยแค่ไหน และจะหาแนวทางในการพัฒนาตามแนวคิดของ องค์กรมีดีไซน์ได้อย่างไร แล้วคราวหน้ามาคุยกันครับ


วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

WMS: ทางเลือกสุดยอดจัดการคลังสินค้า?


ตามที่หลายท่านได้รับทราบข่าวสารอย่างดีแล้วว่า ในอีก 4 ปีข้างหน้านี้ ประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) จะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งมีผลทำให้ตลาดของภูมิภาคแห่งนี้มีความแข็งแกร่ง และกว้างขึ้น ตลอดจนยังจะกลายเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียที่จะก่อให้เกิดการไหลเวียนการทำธุรกิจการค้า และอุตสาหกรรมการผลิตมีความคล่องตัวมากขึ้น
ในประเด็นนี้ทำให้หลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการจัดการคลังสินค้ามากขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการกระจายสินค้าที่เข้ามายังท่าเรือ และท่าขนส่งสินค้าต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ โซลูชัน เพื่อการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System-WMS) จึงเป็นอีกทางเลือกที่เข้ามาช่วยสนองตอบต่อความต้องการของผู้ประกอบการด้านการจัดส่งสินค้า ดังนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า ซอฟท์แวร์นี้ มีประสิทธิภาพจัดการคลังสินค้าได้จริงหรือ?
หากจะว่าไปแล้ว "โซลูชั่น" ก็เป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับเป็นโปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์ โดยหลักการของโปรแกรมดังกล่าว ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานด้านต่างๆขององค์กรในธุรกิจแต่ละประเภทให้เกิดความคล่องตัว และลดขั้่นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป และหากจะพูดถึงการใช้โปรแกรม หรือโซลูชั่น ที่ว่านี้ ในการจัดการคลังสินค้า ก็จะไม่เพียงช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบในการจัดการคลังสินค้าเท่านั้น แต่ระบบที่ว่านี้ยังสามารถทำให้เกิดการเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กับการทำงานด้านการจัดการคลังสินค้า อาทิเช่น ระบบการจัดการสั่งซื้อ การจัดหา การผลิต การจัดส่งสินค้า ไปจนถึงการคืนสินค้า
ปัจจุบันซอฟต์แวร์ปฏิบัติการที่เป็นโซลูชั่นจัดการคลังสินค้ามีให้เลือกใช้มากมาย ตามขนาดขององค์กร และประเภทธุรกิจ ตามความเหมาะสม ตั้งแต่องค์กรที่มีขนาดเล็ก ไปจนถึงองค์การขนาดใหญ่ โดยโซลูชั่นดังกล่าว จะถูกตั้งโปรแกรมให้มีความสอดคล้องกับการทำงาน และกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นภายในคลังสินค้านั้นๆ ไม่ว่าจะมีความซับซ้อนมากเพียงใด ระบบที่ว่านี้ก็จะประมวลผลตั้งแต่การรับสินค้าเข้าคลัง การวางแผนจัดเก็บสินค้า การระบุตำแหน่งการวางสินค้า การตรวจนับจำนวนสินค้า ตลอดจนการรายงานวิเคราะห์ภาพรวมของการจัดการคลังสินค้า ไปจนถึงขนย้ายสินค้าออกจากคลังและการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้า
จุดเด่นสำคัญของระบบโซลูชั่นการจัดการคลังสินค้า ยังสามารถช่วยรองรับการจัดการคลังสินค้าได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่คลังสินค้าโรงงาน คลังรับฝากสินค้าประเภทต่างๆ และศูนย์กระจายสินค้า ขณะเดียวกันยังสามารถรองรับการทำงานของคลังสินค้าได้หลายคลังพร้อมกัน (Multi-Warehouse) รองรับการส่งผ่านข้อมูลข้ามสาขา หรือศูนย์กระจายสินค้าของแต่ละองค์กร สามารถเชื่อมต่อข้อมูลลูกค้า สินค้า รวมไปถึงการสร้างภาพเสมือนคลังสินค้าของแต่ละองค์กรได้อย่างเหมือนจริง ไม่จำเป็นต้องเข้าไปยังพื้นที่จัดเก็บคลังสินค้าด้วยตัวเอง
การนำระบบโซลูชั่นมาใช้จัดการคลังสินค้า ยังมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการด้านคลังสินค้า ลดต้นทุนการทำงาน และลดความบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการคลังสินค้า รวมไปถึงช่วยลดระยะเวลาในกระบวนการจัดการคลังสินค้า ที่จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น

BillGate's House