วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

e-Express สำหรับการนำเข้า-ส่งออก…


e-Express สำหรับการนำเข้า-ส่งออก
สินค้าเร่งด่วนแบบไร้เอกสาร
ธนัท สุวัธนเมธากุล  ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรมศุลกากร

กรมศุลกากรให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน จึงได้มอบหมายให้สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิพัฒนานวัต กรรมการให้บริการทางศุลกากรสำหรับการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเร่งด่วน (Express Consignments) ภายใต้โครงการ e-Express สำหรับการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเร่งด่วนแบบไร้เอกสาร
การให้บริการในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเร่งด่วน (Express Consignments) เป็น การให้บริการ ฝากส่งสินค้าซึ่งดำเนินการโดยผู้ประกอบการของเร่งด่วน เพื่อนำสินค้าไปให้ถึงมือผู้รับปลายทางโดยเร็วที่สุด ตามวัน เวลาที่กำหนดในลักษณะ Door-to-Door การให้บริการในลักษณะเช่นนี้เปรียบเสมือนการส่งของทางพัสดุเร่งด่วน EMS ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด แต่ต่างกันที่เป็นการดำเนินการโดยผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ทำหน้าที่เป็นตัว แทนออกของ (Customs Broker) ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ทั้งขาเข้าและขาออกให้กับผู้ฝากส่งด้วย
เดิมการปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับของเร่งด่วนใช้ระบบเอกสาร (Manual) ซึ่งต้องมีการจัดทำใบขนสินค้าในรูปแบบเอกสาร โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การค้นหาและตรวจสอบข้อมูลไม่สะดวกรวมทั้ง การพัฒนาฐานข้อมูลของระบบงานสินค้าเร่งด่วนของผู้ประกอบการแต่ละรายต่างออก แบบและพัฒนาระบบของตนเอง ทำให้ขาดความเป็นเอกภาพและความมีมาตรฐาน ส่งผลให้การตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ไม่สามารถกระทำได้โดยสะดวก รวดเร็ว จึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงข้อมูล  การนำระบบบริหารความเสี่ยง (Risk Management) มาใช้เพื่อการควบคุมทางศุลกากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  การขาดความเป็นมาตรฐานและความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดปัญหาการร้องเรียนในการปฏิบัติงานได้ง่าย อีกทั้งส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ความสามารถทางการแข่งขันลดลง รวมทั้งไม่สามารถสนับสนุนให้บรรลุวิสัยทัศน์ของกรมศุลกากร ในการเป็นศุลกากรมาตรฐานโลก (World-Class Customs) ได้
สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจึงได้พัฒนานวัตกรรมการให้ บริการใหม่โดยนำระบบเล็กทรอนิกส์มาใช้ และจัดทำเป็นโครงการ e-Express สำหรับการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเร่งด่วน แบบไร้เอกสาร เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบพิธีการศุลกากรรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Customs) โดยลดขั้นตอนและระยะเวลาการตรวจปล่อยสินค้าโดยพัฒนาระบบงานและวิธีการทำงาน ในรูปแบบใหม่ ดังนี้
Pre-arrival Manifestมีระบบการตรวจสอบข้อมูลล่วงหน้าเป็นรายเที่ยวบิน โดยต้องแจ้งข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกของเร่งด่วนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของ ศุลกากรไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงก่อนเครื่องบินออก หรือก่อนเครื่องบินลง เพื่อให้มีการตรวจปล่อยสินค้าได้ทันทีที่ของมาถึง กรณีที่สินค้าไม่ติดเงื่อนไขความเสี่ยง
English Declarationการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า-ขาออกสำหรับของเร่งด่วน สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียว โดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย (การนำเข้า-ส่งออกในระบบ e-Customs ยังคงต้องสำแดงภาษาไทยและภาษาอังกฤษควบคู่กัน) ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูลได้ประมาณกึ่งหนึ่ง ลดบุคลากรซึ่งต้องใช้ในการแปลภาษา นอกจากนี้ยังเป็นการรองรับโครงการระบบเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลและการบริการ ภาครัฐ เพื่อการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ (National Single Window) ในอนาคต
Risk Management – ใช้ระบบบริหารความเสี่ยงในการเลือก ตรวจสอบสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk) ก่อนการปล่อยของ รวมถึงการเลือกตรวจสอบสินค้าเพิ่มเติมของเจ้าหน้าที่อีกครั้ง ทำให้กระบวนการตรวจปล่อยสินค้ารวดเร็ว และการจัดเก็บภาษีถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์
X-ray มีการนำระบบเอ็กซ์เรย์สินค้ามาใช้ในการตรวจ ปล่อย เพื่อช่วยลดเวลาในการตรวจสอบสินค้าทางกายภาพ (Physical Examination) แทนการเปิดตรวจสินค้า
Partial Clearance – มีระบบงานให้เจ้าหน้าที่สามารถบันทึกผลการตรวจปล่อยของบางส่วนได้ โดยสามารถตรวจปล่อยสินค้าที่ตรวจสอบแล้วถูกต้องไปก่อน ส่วนที่ไม่ถูกต้องจะส่งดำเนินคดี เมื่อคดีเสร็จสิ้นแล้วสามารถตรวจปล่อยเพิ่มเติมได้
e-Paymentเพิ่มช่องทางการชำระเงิน ผ่านระบบ e-Payment ทำให้ผู้ประกอบการของเร่งด่วนสามารถชำระค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าล่วงเวลาได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
Electronic Receiptเป็นการพัฒนารูปแบบใบเสร็จรับ เงินและการลงลายมือชื่อในในเสร็จ รับเงิน โดยระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะสั่งพิมพ์ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบลงในใบ เสร็จรับเงินโดยอัตโนมัติ แทนการลงลายมือชื่อ และควบคุมความปลอดภัย โดยใช้รหัสของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ทำให้การออกใบเสร็จรับเงินเป็นไปด้วยความถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว
นอกจากนี้ ระบบ e-Express ได้เพิ่มคุณลักษณะใหม่ให้กับงานบริการเดิม โดยมีกระบวนการทำงานที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ประกอบการของเร่งด่วน ที่สามารถตรวจปล่อยสินค้าเร่งด่วนได้ ที่เดียว ทั่วไทย ทันใด ทุกเวลา
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการของเร่งด่วนจำนวน 14 ราย มีลูกค้าผู้ใช้บริการฝากส่งสินค้าประมาณ 6 – 7 หมื่นรายต่อปี โดยในปี 2553 ที่ผ่านมา มีปริมาณการนำเข้า-ส่งออก มากกว่า 10,000,000 Shipments แบ่งเป็นการนำเข้า 6,716,000 Air Waybills มีมูลค่าประมาณ 180,000 ล้านบาท มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 12.5 ต่อปี และการส่งออกประมาณ 4,774,000 Air Waybills มีมูลค่าประมาณ 164,000 ล้านบาท อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8.34 ต่อปี โดยคาดว่าการใช้บริการจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
จากการมุ่งมั่นพัฒนาระบบ e-Express สำหรับการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเร่งด่วนแบบไร้เอกสาร ทำให้ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม ถึง 2 รางวัล คือ รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทรางวัลนวัตกรรมการให้บริการ จากนายกรัฐมนตรี ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2553 และรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 2 (MOF INNOVATION AWARDS 2010) ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทรางวัลระดับจังหวัด จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งจัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2554




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น