ของเสียคือสิ่งที่เจ้าของไม่นำมาใช้เป็นประโยชน์อีกหรือนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ ด้วยเหตุผลต่างๆ จึงอาจถูกทิ้งไป หรือสะสมทิ้งไว้ในที่เดิม โดยทั่วไปของเสียปริมาณมากและเข้มข้นมากมักเป็นอันตรายต่อคน สัตว์ พืช ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมได้อยู่แล้ว ก๊าซพิษและอากาศเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรม การผลิตไฟฟ้า และเครื่องยนต์ทั่วไป รวมทั้งฝุ่นละอองต่างๆ ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอากาศเสียด้วย ฝุ่นของปูนซีเมนต์ ใยหิน แป้งต่างๆ เป็นอันตรายต่อช่องปอด
ไอของสารประเภท chlorofluorocarbon (CFC) เป็นอันตรายทำให้ชั้นโอโซนในบรรยากาศชั้นสูงเบาบางลง ทำให้แสงอาทิตย์มีอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และพืช มากกว่าปกติ ก๊าซเสียบางอย่าง อาจทำให้เกิดฝนกรด ซึ่งทำลายทรัพย์สินและคุณภาพของดินได้ เช่น ก๊าซเสียจากโรงผลิตไฟฟ้าที่มีกำมะถันสูง รถยนต์ที่เผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีตะกั่วและกำมะถันสูง ก๊าซและฝุ่นจากการเผาศพที่ไม่มีการดักจับก็เป็นปัญหาต่อสุขภาพเช่นกันกับการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์และเขม่า ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ น้ำที่มีโลหะหนัก น้ำที่มีสารเคมีธรรมดาที่มีความเข้มข้นสูง น้ำที่มีสารเคมีเป็นพิษ น้ำที่มีกากและมูลของสัตว์ และซากของพืชที่เน่าเปื่อยมาก และน้ำที่มีอุณหภูมิสูง หากปล่อยลงในแม่น้ำลำคลอง หนองบึง และทะเล จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต คน และสัตว์ และทรัพย์สินต่างๆ ของที่ละลายหรือแขวนลอยในน้ำ หรือ ลอยอยู่บนผิวน้ำอาจมพิษซึ่งเป็นอันตรายโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ของจากโรงงานผลิตยาฆ่าแมลงจากโรงงานที่ใช้โลหะหนัก คราบน้ำมันจากเรือ เช่น น้ำมันเตา น้ำมันเครื่อง น้ำมันดิบ เป็นต้น แม้แต่ตัวของเสียที่เป็นสารที่ไม่เป็นพิษ
คุณสมบัติของมันก็อาจทำให้น้ำเสียภายหลังได้ เช่น ขาดออกซิเจน หรือมีจุลินทรีย์มากเกินไปเป็นต้น ดังในกรณีของกากของแข็งและของเหลวจากโรงงานน้ำตาลและโรงเหล้า เมื่อรั่วลงแม่น้ำ ลำคลองมากเกินไป ทำให้น้ำเสียจนปลาและสัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ น้ำที่มีสารเคมีเข้มข้นมาก จะนำไปใช้ทางเกษตร ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม และในครัวเรือนไม่ได้ โดยที่สารเคมีเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสารพิษด้วยซ้ำ เช่น น้ำที่มีเกลือสินเธาว์ละลายอยู่อย่างเข้มข้น และน้ำเกลือที่รั่วไหลมาจากการเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นต้น น้ำที่เสียคุณสมบัติที่ดีดังกล่าวนี้ทำให้เกิดวิกฤติการณ์ขาดน้ำจึดได้ ทั้งๆ ที่ยังมีน้ำอยู่ทั่วไป
กากของแข็งที่ทิ้งกันไว้ไม่เพียงแต่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะว่ามีอยู่กลาดเกลื่อน กินเนื้อที่ เกะกะ อุดตัน ลอยไปลอยมา ขีดขวางการจราจร และทำให้เกิดความไม่น่าดู แต่ยังไม่สามารถสลายให้เป็นก๊าซ หรือสามารถกลายเป็นของเหลวหรือละลายได้ในน้ำ จนทำให้เกิดเป็นพิษและอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและทรัพย์สินได้ เช่น แบตเตอรี่ชนิดต่างๆ โลหะหนัก ยาฆ่าแมลงและยาฆ่าวัชพืช เป็นต้น ของแข็งในรูปเศษแก้ว และเข็มฉีดยาอาจเป็นอันตรายอย่างเห็นได้ชัด แต่ที่เห็นไม่ได้ชัดเท่า คือ ภาชนะที่เคยถูกใช้บรรจุสารพิษถูกน้ำมาใช้ใหม่ เช่น ถังและขวดที่นำมาใส่อาหารหรือน้ำดื่ม เป็นต้น ทั้งนี้เพราะว่าการล้างภาชนะด้วยน้ำเพียงหนึ่งหรือสองครั้ง อาจจะไม่สามารถกำจัดสารพิษที่ตกค้างให้หมดไปจากตัวภาชนะได้
ในเรื่องสถานภาพของเสียอันตรายนั้น เป็นที่คาดการณ์ว่าของเสียอันตรายที่มาจากอุตสาหกรรมมีแนวโน้มจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2544 อาจจะมีถึง 5 แสนตันเลยทีเดียว จากการสำรวจพบว่าของเสียอันตรายในประเทศไทยที่มีปริมาณนับจากมากไปน้อย คือ สารโลหะหนัก น้ำมัน ขยะติดเชื้อ ตัวทำละลายของเสียมีฤทธิ์เป็นกรด กากตะกอนและของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์ ขยะชุมชน น้ำเสียล้างรูป ของเสียเป็นด่าง กากสารอินทรีย์เหลว กากสารอินทรีย์ละลายน้ำ และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ของเสียที่เป็นอันตรายเหล่านี้ นอกจากมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสมารถสะสมและเพิ่มพูนปริมาณในห่วงโซ่อาหารได้ จึงต้องมีมาตรการควบคุมการบำบัดของเสียที่เป็นอันตรายเหล่านี้ โดยให้มีการใช้ระบบบำบัดที่เหมาะสมกับของเสียแต่ละประเภท ซึ่งนับวันแต่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น
การกำจัดของเสียเป็นปัญหาระดับประเทศและระดับสากล ปัญหาในประเทศ คือ ปัญหาสถานที่ที่ใช้ในการฝังของแข็ง สถานที่ที่ใช้ในการกำจัดน้ำเสีย และสถานที่ตั้งของเตาเผาสำหรับของเสียอันตรายต่างๆ มักมีผู้ต่อต้านเป็นจำนวนมากโดยทั่วไป คือ ไม่ยอมให้กำจัดของเสีย หรือตั้งเตาเผาที่ใกล้ชุมชนของตน โดยอ้างว่าของเสียจากแหล่งอื่นไม่ควรถูกนำมาอยู่ใกล้ชุมชนของเขาเหล่านั้น การกำจัดของเสียลักษณะต่างๆ เหล่านี้มีค่าใช้จ่ายสูง ฉะนั้น บางประเทศจะส่งของเสียเหล่านี้ไปยังประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อกำจัด และทำลายโดยมีการบอกกล่าวไว้ก่อนและเสียค่าใช้จ่าย แต่ก็มีกรณีที่บางประทศได้ส่งของเสียข้ามแดนโดยไม่บอกกล่าวไว้ก่อน และโดยที่ไม่มีใบสำแดงว่าเป็นของประเภทใด สิ่งนี้เกิดขึ้นทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศแอฟริกาเป็นแหล่งที่มีผู้เอาของเสียไปทิ้งมากที่สุด ประเทศในแถบอเมริกาใต้และเอเซียบางส่วนก็ได้รับบ้างเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม อนุสัญญา Basel ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ก็จะช่วยในการควบคุมให้มีการรับผิดชอบมากขึ้นในการส่งของเสียไปประเทศอื่นโดยไม่ได้แจ้งไว้ก่อน และประเทศผู้รับสามารถส่งคืนไปประเทศที่เป็นจุดเริ่มต้นของเสียนั้นได้ อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาของเสียขณะนี้ คือ พยายามให้มีกากของเสียน้อยที่สุดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง การใช้ การทำลาย และมีการพิจารณาใช้กระบวนการใหม่และสารเริ่มต้นใหม่ขึ้นในการผลิต เพื่อทำให้เกิดของเสียน้อยที่สุด แทนที่จะต้องมาบรรเทาปัญหาของๆ เสียที่เกิดขึ้นมาแล้ว นอกจากนี้ ควรจะต้องมีการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด (recycling) แต่การนำมาใช้ใหม่บางครั้งไม่คุ้มค่าและไม่ได้ของดีเท่าเดิมกลับคืนมา ต้องพึ่งเทคโนโลยีและความรู้ที่ดี จึงทำให้มีผู้ที่ทำเช่นนี้น้อยกว่าที่ควร
คุณสมบัติของมันก็อาจทำให้น้ำเสียภายหลังได้ เช่น ขาดออกซิเจน หรือมีจุลินทรีย์มากเกินไปเป็นต้น ดังในกรณีของกากของแข็งและของเหลวจากโรงงานน้ำตาลและโรงเหล้า เมื่อรั่วลงแม่น้ำ ลำคลองมากเกินไป ทำให้น้ำเสียจนปลาและสัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ น้ำที่มีสารเคมีเข้มข้นมาก จะนำไปใช้ทางเกษตร ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม และในครัวเรือนไม่ได้ โดยที่สารเคมีเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสารพิษด้วยซ้ำ เช่น น้ำที่มีเกลือสินเธาว์ละลายอยู่อย่างเข้มข้น และน้ำเกลือที่รั่วไหลมาจากการเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นต้น น้ำที่เสียคุณสมบัติที่ดีดังกล่าวนี้ทำให้เกิดวิกฤติการณ์ขาดน้ำจึดได้ ทั้งๆ ที่ยังมีน้ำอยู่ทั่วไป
กากของแข็งที่ทิ้งกันไว้ไม่เพียงแต่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะว่ามีอยู่กลาดเกลื่อน กินเนื้อที่ เกะกะ อุดตัน ลอยไปลอยมา ขีดขวางการจราจร และทำให้เกิดความไม่น่าดู แต่ยังไม่สามารถสลายให้เป็นก๊าซ หรือสามารถกลายเป็นของเหลวหรือละลายได้ในน้ำ จนทำให้เกิดเป็นพิษและอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและทรัพย์สินได้ เช่น แบตเตอรี่ชนิดต่างๆ โลหะหนัก ยาฆ่าแมลงและยาฆ่าวัชพืช เป็นต้น ของแข็งในรูปเศษแก้ว และเข็มฉีดยาอาจเป็นอันตรายอย่างเห็นได้ชัด แต่ที่เห็นไม่ได้ชัดเท่า คือ ภาชนะที่เคยถูกใช้บรรจุสารพิษถูกน้ำมาใช้ใหม่ เช่น ถังและขวดที่นำมาใส่อาหารหรือน้ำดื่ม เป็นต้น ทั้งนี้เพราะว่าการล้างภาชนะด้วยน้ำเพียงหนึ่งหรือสองครั้ง อาจจะไม่สามารถกำจัดสารพิษที่ตกค้างให้หมดไปจากตัวภาชนะได้
ในเรื่องสถานภาพของเสียอันตรายนั้น เป็นที่คาดการณ์ว่าของเสียอันตรายที่มาจากอุตสาหกรรมมีแนวโน้มจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2544 อาจจะมีถึง 5 แสนตันเลยทีเดียว จากการสำรวจพบว่าของเสียอันตรายในประเทศไทยที่มีปริมาณนับจากมากไปน้อย คือ สารโลหะหนัก น้ำมัน ขยะติดเชื้อ ตัวทำละลายของเสียมีฤทธิ์เป็นกรด กากตะกอนและของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์ ขยะชุมชน น้ำเสียล้างรูป ของเสียเป็นด่าง กากสารอินทรีย์เหลว กากสารอินทรีย์ละลายน้ำ และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ของเสียที่เป็นอันตรายเหล่านี้ นอกจากมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสมารถสะสมและเพิ่มพูนปริมาณในห่วงโซ่อาหารได้ จึงต้องมีมาตรการควบคุมการบำบัดของเสียที่เป็นอันตรายเหล่านี้ โดยให้มีการใช้ระบบบำบัดที่เหมาะสมกับของเสียแต่ละประเภท ซึ่งนับวันแต่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น
การกำจัดของเสียเป็นปัญหาระดับประเทศและระดับสากล ปัญหาในประเทศ คือ ปัญหาสถานที่ที่ใช้ในการฝังของแข็ง สถานที่ที่ใช้ในการกำจัดน้ำเสีย และสถานที่ตั้งของเตาเผาสำหรับของเสียอันตรายต่างๆ มักมีผู้ต่อต้านเป็นจำนวนมากโดยทั่วไป คือ ไม่ยอมให้กำจัดของเสีย หรือตั้งเตาเผาที่ใกล้ชุมชนของตน โดยอ้างว่าของเสียจากแหล่งอื่นไม่ควรถูกนำมาอยู่ใกล้ชุมชนของเขาเหล่านั้น การกำจัดของเสียลักษณะต่างๆ เหล่านี้มีค่าใช้จ่ายสูง ฉะนั้น บางประเทศจะส่งของเสียเหล่านี้ไปยังประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อกำจัด และทำลายโดยมีการบอกกล่าวไว้ก่อนและเสียค่าใช้จ่าย แต่ก็มีกรณีที่บางประทศได้ส่งของเสียข้ามแดนโดยไม่บอกกล่าวไว้ก่อน และโดยที่ไม่มีใบสำแดงว่าเป็นของประเภทใด สิ่งนี้เกิดขึ้นทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศแอฟริกาเป็นแหล่งที่มีผู้เอาของเสียไปทิ้งมากที่สุด ประเทศในแถบอเมริกาใต้และเอเซียบางส่วนก็ได้รับบ้างเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม อนุสัญญา Basel ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ก็จะช่วยในการควบคุมให้มีการรับผิดชอบมากขึ้นในการส่งของเสียไปประเทศอื่นโดยไม่ได้แจ้งไว้ก่อน และประเทศผู้รับสามารถส่งคืนไปประเทศที่เป็นจุดเริ่มต้นของเสียนั้นได้ อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาของเสียขณะนี้ คือ พยายามให้มีกากของเสียน้อยที่สุดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง การใช้ การทำลาย และมีการพิจารณาใช้กระบวนการใหม่และสารเริ่มต้นใหม่ขึ้นในการผลิต เพื่อทำให้เกิดของเสียน้อยที่สุด แทนที่จะต้องมาบรรเทาปัญหาของๆ เสียที่เกิดขึ้นมาแล้ว นอกจากนี้ ควรจะต้องมีการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด (recycling) แต่การนำมาใช้ใหม่บางครั้งไม่คุ้มค่าและไม่ได้ของดีเท่าเดิมกลับคืนมา ต้องพึ่งเทคโนโลยีและความรู้ที่ดี จึงทำให้มีผู้ที่ทำเช่นนี้น้อยกว่าที่ควร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น