จากการสำรวจสนามบินทั่วโลก ทำให้เราทราบว่ามีสนามบินที่โดดเด่นและแปลกจากสถานบินทั่ว ๆ ไปอยู่ 7 สนามบินด้วยกัน เรามาดูซิว่าทำไมถึงแปลกและมีความแตกต่างจากสนามบินอื่นกันอย่างไร นั่นก็คือ
7. กูร์เชอเวล สนามบินสากลของฝรั่งเศส ที่นี่เป็นสถานที่พักผ่อนของนักเล่นสกีน้ำแข็งที่เรียกว่า กูร์เชอเวล การขึ้นลงของเครื่องบินต้องได้รับการนำล่องจากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลภูเขาแอลป์ของฝรั่งเศส พื้นทางวิ่งยาวประมาณ ๑๗๐๐ ฟุต และที่น่าแปลกที่สุดคือทางวิ่งขึ้นลงนี้อยู่ระหว่างหุบเขาใหญ่ ของภูเขาลูกหนึ่ง.ทำไมถึงเป็นหนึ่งเดียวในโลก...เพราะ เครื่องบินขึ้นต้องบินลงเขา เครื่องลงต้องบินขึ้นเขา ทางวิ่งทำมุม 18.5 % สูงชัน ทำให้เครื่องบินเล็กที่เบา จึงเสียการทรงตัวได้ง่าย และอาจเป็นเหตุให้ถลำออกนอกทางวิ่งโดยเครื่องยนต์ไม่สามารถช่วยประคองได้ การลงต้องการนักบินที่มีประสบการณ์มาก และต้องได้รับใบรับรอง ก่อนที่จะทำการบินขึ้นลงในทางวิ่งที่อันตรายเช่นนี้ได้.
6. สนามบินคองโกแนส (เซาเปาโล บราซิล) เมืองใหญ่ทั่วไปมักมีสนามบินอยู่ แต่สนามบินที่อยู่ห่างใจกลางเมืองเพียง 5 ไมล์ โดยเฉพาะเมืองหลวงเช่น เซาเปาโลนี้มีไม่มากนัก คองโกแลสอยู่ในเมืองหลวง สร้างเสร็จเมื่อปี 1936 และถูกปรับปรุงเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน
เป็นหนึ่งเดียวในโลกเพราะ...เมื่อมีสนามบินห่างเพียง 11 กิโลเมตรจากเมืองหลวง จึงสะดวกในการเดินทางและขนส่งสินค้าอย่างปลอดภัย และห่างพอที่จะไม่เกิดเสียงรบกวนผู้อยู่อาศัยในเมือง และตึกรามที่สูงใหญ่ก็ไม่กีดขวานักบินในการขึ้นลงแต่ประการใด.
5. สนามบินน้ำแข็ง (แอนต๊าคติค) สนามบินที่เป็นน้ำแข็ง เป็นหนึ่งใน 3 แห่งที่ใช้ในการขนส่งเสบียงและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อค้นคว้าความลึกลับของแอนต๊าคติคที่สถานีแมคโมโด้ และสภาพของสนามบินก็ไม่ใช่ทางเรียบแบบทั่ว ๆ ไปแต่เป็นเพียงทางเรียบ ๆ ที่เกิดจากน้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมอยู่เท่านั้น.
ที่โดดเด่นเพราะ...ไม่เคยมีเรื่องที่จะทำให้ทางวิ่งขึ้นลงของสนามบินจะแคบเกินไป เพราะมีทางที่ใหญ่โตมโหฬาร แม้แต่เครื่องเฮอร์คูลิส C-130 หรือ โกลปแมสเตอร์ ที่สาม C-17 ก็ขึ้นลงได้อย่างสบายมาก ที่เสี่ยงที่สุดคือต้องแน่ใจว่าน้ำหนักบรรทุกและเครื่องบินต้องไม่มากเกินไป จนทำให้ทางวิ่งน้ำแข็งทนไม่ไหวและเกิดแตกกระจายออกไป เครื่องบินก็จะต้องย้ายไปลงที่เพกาซัสฟิลด์ หรือไม่ก็ที่ ลเลี่ยมฟิลด์ ทั้งสองแห่งนี้ก็ให้บริการอยู่ในบริเวณนี้เหมือนกัน.
4. สนามบินดอนเมือง จากระยะของสนามบินสากลดอนเมืองดูเหมือนจะผิดขนาด อย่างไรก็ตามที่ว่างโล่งตรงกลางของสองทางวิ่งขึ้นลง ก็เป็นสนามกอล์ฟ 18 หลุมแห่งหนึ่ง.
ที่โดดเด่นเพราะเชรคเคนแคสท์ ผู้ที่เคยเป็นที่ปรึกษาโครงการนี้กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของสนามบินนี้อยู่ที่ทางขับเคลื่อนออกมาเพื่อเข้าสู่ทางวิ่งที่หัวหรือท้ายรันเวย์นั้น เขาได้แนะนำให้ทำทางเพิ่มเติมตรงกลางของทั้งสองรันเวย์ แต่ทางคณะกรรมการไม่ยอมโดยเด็ดขาด เพราะจะเสียแฟร์เวย์และสนามกอล์ฟไปส่วนหนึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่สนามบินและคณะกรรมการการบินเป็นทหารอากาศทั้งสิ้น และตั้งแต่เปิดสนามบิน ให้เป็นสนามบินพาณิชย์ ก็ได้มีการจำกัดและตรวจสอบอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในการเข้าไปเล่นกอล์ฟ
3. สนามบินสากลเมดีร่า (เมดีร่า, โปรตุเกส) เมดีร่าเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งโปรตุเกส ซึ่งช่วยให้เป็นสนามบินพาณิชย์ที่สำคัญของ โปรตุเกส รันเวย์เดิมยาวเพียง 5000 ฟุต ซึ่งเป็นการเสี่ยงอันตรายมาก แม้เป็นนักบินที่ชำนาญการแล้วก็ตาม จึงต้องจำกัดผู้โดยสารและสัมพาระ
ที่โดดเด่น เพราะ ...วิศวกรได้ขยายทางวิ่งเป็น 9000 ฟุต โดยสร้างเป็นสะพานต่อยื่นออกไปอีกด้วยเสา 200 ต้น สะพานยื่นออกไปอีก 3000 ฟุต กว้าง 590 ฟุต ให้มั่นคงแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของเครื่อง 747 และเครื่องบินเจ็ทที่คล้าย ๆ กัน. ในปี 2004 คณะกรรมการสากลทางวิศวกรรมศาสตร์สาขาการก่อสร้างและสะพาน ได้ยกย่องให้เป็นสะพานที่ออกแบบได้อย่างมั่นคงปลอดภัยสูงส่ง และเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม.
2. สนามบินคิบรัลตาร์ (คิบรัลตาร์)อยู่ระหว่างมอร๊อคโคและสเปน ติดกับขอบเขตเล็ก ๆ ของอังกฤษ ที่คิบรัลตาร์ ก่อสร้างขี้นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และยังใช้งานอยู่เพื่อเป็นฐานของกองทัพอากาศอังกฤษ เครื่องบินพานิชย์ร่อนลงทุกวันเป็นปรกติ.
โดดเด่น เพราะ...ถนนวินสตั้นเชอร์ชิลล์, ถนนคิบรัลตาร์, ตัดผ่านรันเวย์ทั้งสองสาย โดยมีไม้กั้นทางแบบที่ใช้กั้นทางรถไฟ เพื่อให้เครื่องบินวิ่งผ่าน และมีภูเขาเป็นเกาะอยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นเมือง เชรคเคนแคสท์กล่าวว่า “ทางวิ่งไปมาจากด้านหนึ่งของเกาะไปยังอีกด้านหนึ่งของเกาะ เพราะเป็นเส้นทางเดียวที่ราบเรียบและดีที่สุดเท่าที่จะทำได้” นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ตลอดที่สามารถกั้นคนออกไปได้ “ มันเป็นที่ที่ดีที่สุดสำหรับเครื่องจะร่อนลง ดังนั้นมันคือรันเวย์ แต่บางทีก็คือถนน”
1. แคนไซสนามบินสากล (โอซากา ญี่ปุ่น) พื้นดินเป็นสิ่งที่น่ากล้วของชาวญี่ปุ่น ดังนั้นวิศวกรจึงมุ่งหน้าออกทะเลไปประมาณ 3 ไมล์ ที่อ่าวโอซาก้า เพิ่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหญ่ ๆ โดยเริ่มโครงการสร้างเกาะด้วยมือมนุษย์เมื่อปี 1987 และให้เครื่องบินจัมโบ้เจ็ทร่อนลงในปี 1994 นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางต่อข้ามไปยังฮอนชูโดยทางรถยนต์ รถไฟหรือทางเรือเร็วเฟอร์รี่.
โดดเด่นเพราะ...เกาะแคนไซ ที่สร้างด้วยน้ำมือมนุษย์ ยาว 5.5 กม. กว้าง 3.52 กม. ซึ่งใหญ่จนสามารถมองเห็นได้จากอวกาศ การเกิดแผ่นดินไหว ไต้ฝุ่นที่ร้ายแรง ทะเลที่ไม่สงบและการก่อวินาศกรรม ถูกออกแบบป้องกันได้อย่างน่าประทับใจ โดยวิศวกรผู้ก่อสร้าง สจ๊วต เชรคเคนเคส ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินแห่งมหาวิทยาลัยเพอร์ดู และอดีตที่ปรึกษาของ MITRE กล่าวว่า ข้อควรระวังคือ อากาศที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาลอาจก่อให้เกิดน้ำขึ้นเกินระดับน้ำทะเลที่สนามบินควรระวัง เมื่อตอนสร้างวิศวกรไม่ได้คำนึงถึงการเตือนในอนาคตอีกประมาณ 50 ปีหรือกว่านั้น เกาะนี้อาจจมอยู่ใต้ทะเล
ที่มา...www.7coollist.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น