วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

การนำโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้กับการซื้อของใช้ในบ้าน


โดย วิญญู ปรอยกระโทก
อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ 
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น


หลายคนเมื่อได้ยินคำว่าโลจิสติกส์ อาจเข้าใจว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันตัวเองและไม่สนใจ แต่หากพิจารณาดีๆ แล้ว โลจิสติกส์แทบจะมีบทบาทในทุกๆ การการะทำในชีวิตประจำวันของคนเรา เริ่มตั้งแต่ตื่นเช้ามา การวางแผนการเดินทางไปโรงเรียน หรือไปทำงาน ตลอดจนการวางแผนการจัดเก็บจัดซื้อข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน ทำอย่างไรให้ถึงที่หมายทันเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด
      วางแผนซื้อข้าวของเครื่องใช้เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก น้ำปลา น้ำตาล ข้าวสาร รวมถึงอาหารสดอย่างไรจึงจะเป็นการประหยัด ไม่สิ้นเปลืองเงินจากการที่ต้องเก็บตุนสิ่งของเหล่านั้น ยิ่งถ้าหากเป็นการซื้ออาหารสด จะซื้ออย่างไรให้เพียงพอต่อการนำไปใช้ทำอาหารโดยที่เหลือเป็นของเน่าเสียน้อยที่สุดด้วย ซึ่งเมื่อเราสามารถวางแผนดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็หมายถึงว่าเราได้ทำการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์จากการที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น หากท่านนำไปลงทุน หรือฝากไว้กับธนาคารเพื่อผลตอบแทนดอกเบี้ย ท่านก็จะยิ่งได้ประโยชน์เพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย
      ก่อนที่จะเราทำการซื้อข้าวของเครื่องใช้เข้าบ้าน เราต้องมาการสำรวจสิ่งของเหล่านั้นก่อนมา สิ่งใดที่หมด หรือเหลือมากน้อยแค่ไหน และสิ่งใดที่มีความต้องการใหม่เพิ่มเข้ามา จากพฤติกรรมการใช้ หรือความต้องการของคนในบ้าน ซึ่งถ้าพูดในลักษณะของโลจิสติกส์ก็ คือความต้องการของลูกค้านั่นเอง
      ความต้องการของคนในบ้านจะเป็นข้อมูลในการสั่งซื้อสินค้าเพื่อให้พ่อซึ่งเป็นฝ่ายจัดหา ไปหาซื้อเข้ามาในบ้าน ส่วนแม่เป็นคนจัดเก็บและแปรรูปของที่ซื้อมาเพื่อให้ส่งให้ตรงตามความต้องการและเกิดความพึงพอใจสูงสุดของคนในบ้าน
      ต่อไปเราจะมาทำการบริหารจัดการโลจิสติกส์ โดยการ หาระยะเวลาที่เหมาะสมในการซื้อของใช้ เข้าบ้าน
      ปัจจุบัน : การซื้อของใช้เข้าบ้านจะไม่ได้มีการบริหารเวลา ของหมดก็ค่อยหาซื้อ ทำให้เกิดของขาดบางเวลา หรือเกิดของเน่าเสีย รกตู้เย็น ซึ่งส่งผลเกิดความสูญเสียและทำให้ต้องเสียค่าเดินทางที่มากขึ้น หรือต้องซื้อของที่แพงขึ้น เพราะต้องหาซื้อกะทันหัน

ระยะเวลาการใช้สินค้า

      ดังนั้น : อาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์และผัก ควรซื้อทุก 2 สัปดาห์(เดือนละ 2 ครั้ง) ในจำนวนที่ระบุ เพื่อความสดใหม่ แต่สินค้าอื่นก็ทำการซื้อเดือนละ 1 ครั้ง คือ ซื้อในสัปดาห์แรกของเดือนพร้อมพวกของสดและไปซื้อของสดอีกครั้งในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน


      การซื้อของ จะซื้อหลังจากเลิกงานของพ่อ เพราะต้องกลับรถเพื่อกลับบ้านหน้าฟู้ดแลนด์อยู่แล้ว หรือซื้อที่โลตัสเพราะเป็นห้างสรรพสินค้าที่ใกล้บ้านมากที่สุดและเป็นทางผ่านในการจะไปทำงานและทางผ่านไปเข้าเมือง เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางประโยชน์จากการบริการจัดการโลจิสติกส์ในการซื้อของใช้ในบ้าน
- ลดจำนวนครั้งในการเดินทางไปซื้อสินค้า ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
      - ของเน่าเสีย หรือหมดอายุลดลง
      - ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะซื้อของเท่าที่จำเป็นและไม่ต้องซื้อของที่ราคาแพงกว่าในกรณีฉุกเฉิน
            - เพิ่มความพึงพอใจและสะดวกสบายให้คนในบ้าน เพราะได้ของที่ต้องการและมีใช้อย่างต่อเนื่อง
            - สามารถนำเงินที่เหลือไปใช้ในสิ่งอื่นหรือเก็บออม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น